บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับครอบครัวเด็กพิการในสังคมไทยกับระบบการคุ้มครอง ซึ่งครอบคลุมประเด็นการวิเคราะห์สถานการณ์ครอบครัวเด็กพิการในสังคมไทย ความต้องการ มาตรการ ระบบบริการและการดูแลตนเองของครอบครัวเด็กพิการและชุมชนในปัจจุบัน อันนำไปสู่ข้อสรุปและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและการวิจัยในอนาคต วิธีการศึกษา เป็นการคัดเลือกเอกสารวิจัยที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับครอบครัวเด็กพิการในประเทศไทยในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา วิธีการวิเคราะห์ใช้แบบบันทึกข้อมูลที่สร้างขึ้น มีขั้นตอนการวิเคราะห์ คือ กำหนดประเด็น ระยะเวลา รวบรวมและคัดกรองข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สังเคราะห์แก่นความคิด รวมทั้งสร้างข้อเสนอแนะ ผลการศึกษา พบว่า ครอบครัวเด็กพิการในประเทศไทยมีหลายประเภท มีความเปราะบาง มีความเสี่ยง ต้องการการช่วยเหลือดูแล งานวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์ครอบครัวเด็กพิการมีน้อยมาก การที่ครอบครัวมีเด็กพิการที่ต้องดูแล ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตครอบครัว ทำให้ครอบครัวเกิดปัญหาการทะเลาะเบาะแว้ง การเลี้ยงดูลุก ค่าใช้จ่าย และสุขภาพ สำหรับความต้องการของครอบครัว ได้จำแนกเป็นความต้องการของเด็กพิการ ความต้องการของพ่อแม่ในฐานะเป็นผู้ดูแลและความต้องการของสมาชิกอื่นในครอบครัว กฎหมายที่เกี่ยวข้องเน้นที่กลุ่มเป้าหมายคนพิการรวมทั้งเด็กพิการเป็นสำคัญ มีการระบุถึงผู้ดูแลคนพิการอยู่บ้างในฐานะผู้ทำหน้าที่ดูแลคนพิการแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบที่ครอบครัวได้รับและจำเป็นต้องได้รับการคุ้มครอง ส่วนรูปแบบสวัสดิการที่จัดให้ครอบครัวเหล่านี้เป็นสวัสดิการพื้นฐาน เช่นเดียวกับครอบครัวทั่วไปและสวัสดิการสำหรับเด็กพิการตามที่กฎหมายกำหนด ปัจจุบันครอบครัวที่มีเด็กพิการในประเทศไทยมีการดูแลตนเอง มีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเองระหว่างครอบครัวที่มีลูกพิการแต่ยังมีน้อย เช่นกับเดียวกับชุมชนและท้องถิ่นมีบทบาทในการดูแลครอบครัวเด็กพิการ แต่ยังทำหน้าที่ไม่เพียงพอทั้งนี้ขึ้นกับศักยภาพ ความเข้มแข็งของชุมชนและท้องถิ่น ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะต่อการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบบริการและระบบอาสาสมัครที่เหมาะสมสำหรับครอบครัวเหล่านี้ ส่งเสริมศักยภาพการดูแลตนเองของครอบครัวเด็กพิการและชุมชนให้เพิ่มมากขึ้น มีการศึกษาวิจัยเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับครอบครัวเด็กพิการ
This article aims to synthesize the knowledge concerning with the family of children with disabilities in Thailand and the protection system. It consists of the topics related to the situation of the family of children with disabilities in Thailand, the needs, the measurements, the services at present and also the family of children with disabilities and community self-care system, as well as the recommendations of the policies and future researches. The synthetic methods are to select the researches along with the family of children with disabilities in Thailand, which have done in the past 20 years. Forms are used to collect data and then synthesize. The synthetic stages are that specify the topics, period of time, select and analyze data, synthesize the virtual concept and finally creating the recommendation.
The findings reveled that the family of children with disabilities in Thailand have several types, weakness risk, need for help. The researches concerning the situation of family with children with disabilities in Thailand are very few. Being the family of children with disabilities affects the family living that brought up the problems of family conflict, and quarrelling, child rearing, family expenditure, and health. For the family needs, they were classified into the need for disabled children, the need for parents who taking care children with disabilities, and the need for family members. About the concern legal, they emphasized the target groups of people with disabilities, including disabled children. It also mentions to the guardians who take care children with disabilities but it does not give precedence to family effects and their protections. The welfare services providing to thee families are fundamental welfare services, the same as welfare for other families who do not having children with disabilities and welfare for children with disabilities in according with the laws concerned. At the time the family of children with disabilities in Thailand have been taking care themselves. They also built up the self help groups or the support groups in order that they can help each other. However, these still have only a few. The same as the communities and the districts that they still have not made their effort enough to help or support these group of families. It depended on their capacity building and strength. The recommendations are that the concern laws should be revised; an appropriated services and voluntary system for these families have been developed; capacity building of the family of children with disabilities and community self-care have been more encouraged. Developing the concerned researches should be done as well as setting up data base about the family of children with disabilities in Thailand.