The aim of the study was to prepare liposomes entrapping essential oils in order to decrease volatility and enhance stability. The combination of cinnamon (Cinnamomum burmanii) and cajuput (Melaleuca Leucadendron) oils (1:1) by volume) was selected for incorporation into liposome and was analyzed by a developed gas chromatography-mass spectrometry (GC-MS) method for two major compounds, cinnamaldehyde and eucalyptol. The liposomal formulations composed of phospholipid, cholesterol and oils mixture (2 mg/mL) were prepared using a thin film hydration method. The effects of different mass ratios of phospholipid/cholesterol (60:40, 70:30, 80:20, 90:10) and sonication time (0,2 and 5 minutes) on oil entrapment efficiency were evaluated. The optimized formulation, containing the mass of phospholipid to cholesterol ration of 80:20 and generated vis sonication for 2 minutes, emerged the maximum amount of the two major components (88.40 +-0.22) and was used for further preliminary stability studies at 4+-2 °C and the room temperature, 25+- 2 °C, for a period of 2 months. Results showed that the essential oils in liposomal formulation were quite within 2 months at both storage temperature and had good physical appearance. The percentage of oil retention in the liposomal formulations decreased by 8.78 and 12.83 at both temperatures, respectively. Findings suggest that the combination of cinnamon and cajuput oils which enhance antiacne-inducing bacterial activities and are stabilized in the liposomal formulation could be further developed to provide the anti-acne cosmetic products.
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อศึกษาการห่อหุ้มน้ำมันหอมระเหยในรูปแบบไลโปโซม เพื่อลดสูญเสียจากการระเหยและเพิ่มความคงตัวของน้ำมันหอมระเหย ในการศึกษาครั้งนี้เลือกน้ำมันอบเชยผสมกับน้ำมันเสม็ดขาวใส่ในตำรับไลโปโซมและวิเคราะห์หาปริมาณซินนามาลดีไฮด็และยูคาลิปตอล ซึ่งเป็นสารสำคัญในน้ำมันหอมระเหยทั้งสองชนิดตามลำดับด้วยวิธี GC-MS ที่ทำการตรวจสอบความถูกต้องแล้ว สูตรตำรับไลโปโซมประกอบด้วยฟอสโฟไลปิดโคเลสเตอรอลและน้ำมันหอมระเหนผสม (2 มก./มล.) และเตรียมโดยวิธี thin film hydration ทำการประเมินผลการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนปริมาณฟอสโฟไลปิดกับโคเลสเตอรอลและระยะเวลาโซนิเคด (sonicate) ต่อประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำมันหอมระเหยผสม พบว่าตำรับไลโปโซมที่ประกอบด้วยปริมาณฟอสโฟไลปิดกับโคเลสเตอรอลในสัดส่วน 80:20 และใช้ระยะเวลาโซนิเคด 2 นาที มีปริมาณสารสำคัญทั้งสองชนิดสูงสุด (88.40+-022%) ซึ่งจะใช้ในการตรวจสอบความคงตัวเบื้องต้นที่อุณหภูมิ 4+- 2 °C และที่อุณหภูมิห้อง 25+- 2 °C นาน 2 เดือน ผลการทดลองพบว่าน้ำมันหอมระเหยผสมในตำรับไลโปโซมทั้งสองอุณหภูมิค่อนข้างคงตัวดีตลอดระยะเวลา 2 เดือน โดยมีปริมาณน้ำมันหอมระเหยผสมลดลงร้อยละ 8.78 และ 12.83 ที่อุณหภูมิทั้งสองตามลัดบ จากผลการศึกษา แสดงให้เห็นว่า น้ำมันอบเชยและน้ำมันเสม็ดขาวคงตัวได้ดีในตำรับไลโปโซม ซึ่งอาจพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้ต้านเชื้อที่ก่อให้เกิดสิวต่อไปได้