การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อศึกษาแนวคิดและเจตนารมณ์ของการตั้งกระทู้ถามตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาการทำ
หน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาตามบทเฉพาะกาล มาตรา 269 ของรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารโดยการตั้งกระทู้ถาม สาเหตุให้การตั้งกระทู้ถามไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจของ
ฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และผลที่เกิดขึ้นจากการตั้งกระทู้ถามต่อการบริหารราชการแผ่นดินของฝ่ายบริหาร ตลอดจนเพื่อสร้างข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย และ
กำหนดแนวทางในการนำเครื่องมือการตั้งกระทู้ถามนั้นไปใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
พุทธศักราช 2560 คณะผู้วิจัยมีข้อเสนอในการแก้ไขปรับปรุงมาตรการทางกฎหมาย และการกำหนดแนวทาง ในการนำเครื่องมือการตั้งกระทู้ถามนั้นไปใช้ในการตรวจสอบถ่วงดุลฝ่ายบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมสอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ดังนี้
1. ข้อเสนอแนะต่อมาตรการทางกฎหมาย
1.1 ควรปรับลดระยะเวลาในการตั้งกระทู้ถามและการตอบกระทู้ถามด้วยวาจา
แต่ละกระทู้ในข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้การถามและตอบกระทู้ถามมีความกระชับ ตรงประเด็น และเพื่อให้กระทู้ถามสามารถตั้งได้จำนวนที่เพิ่มขึ้นโดยเทียบเคียงจากประเทศออสเตรเลียที่การตั้งกระทู้ถามที่เป็นกระทู้หลักต้องใช้เวลาไม่เกิน 1 นาที และการตอบกระทู้ถามจะต้องไม่เกิน 2 นาที ซึ่งหากพิจารณาสถานการณ์ในปัจจุบันแล้ว พบว่าสมาชิกวุฒิสภาส่วนหนึ่งก็เปลี่ยนไปใช้เครื่องมือการขอปรึกษาหารือเกี่ยวกับความเดือดร้อนของ
ประชาชน หรือปัญหาอื่นใดก่อนเข้าสู่ระเบียบวาระประชุมแทน ซึ่งก็ใช้เวลาเพียง 3 นาที ก็สามารถตั้งประเด็นคำถามต่อฝ่ายบริหารได้เช่นเดียวกัน 1.2 ควรแก้ไขข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 163 เรื่องการตอบกระทู้เป็นหนังสือที่ต้องตอบในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งกำหนดให้นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีต้องตอบภายใน 30 วัน นับแต่ส่งไปถึงนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรี คณะผู้วิจัยเห็นว่ากำหนดระยะเวลาดังกล่าวนานเกินไป ควรกำหนดให้ตอบภายใน 15 วันทำการ เพื่อจะได้ทันกับสถานการณ์หรือปัญหาที่ถูกถามในกระทู้ และเพื่อแจ้งให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบหรือเดือดร้อนได้รับรู้สถานการณ์หรือทราบแนวทางการแก้ไขปัญหาในช่วงเวลาที่เหมาะสม เทียบเคียงกับประเทศอังกฤษที่กำหนดเวลาตอบกระทู้เป็นลายลักษณ์อักษรภายในระยะเวลา 14 วันทำการ 1.3 ควรแก้ไขข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยเพิ่มอำนาจของประธานวุฒิสภาในการอนุญาตให้ตั้งกระทู้ถามด้วยวาจาเกินกว่า 3 กระทู้ ตามความเหมาะสม
หรือการอนุญาตให้ขยายเวลาระเบียบวาระการตั้งกระทู้ถามได้ มากกว่าที่ข้อบังคับกำหนด หากไม่กระทบต่อระเบียบวาระอื่น เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่น โดยไม่จำเป็นต้องขอมติที่ประชุมทุกครั้ง 1.4 ควรเพิ่มเติมข้อบังคับการประชุมวุฒิสภา พ.ศ. 2562 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือ
ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ในกรณีที่รัฐมนตรีได้รับข้อสังเกตจากการตั้งกระทู้ถามไปแล้ว โดยให้อำนาจแก่ประธานวุฒิสภาในการติดตามคำตอบเพื่อที่จะได้แจ้งให้ที่ประชุมหรือผู้ที่ตั้งกระทู้ถามทราบ ซึ่งจะทำ
ให้มีข้อบังคับหรือระเบียบรองรับในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อติดตามผลการดำเนินการของฝ่ายบริหารได้ง่ายขึ้น และได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมากขึ้น 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและแนวทางต่าง ๆ 2.1 ควรมีคู่มือแนะนำแนวทางการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาให้แก่สมาชิกวุฒิสภา
โดยเฉพาะการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล การค้นคว้าหาข้อมูล หรือการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งควรมีหน่วยงาน ส่วนงาน หรือคณะบุคคลที่ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ หรือให้คำปรึกษาแก่สมาชิกวุฒิสภา เพื่อให้การใช้เครื่องมือในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสม 2.2 ต้องเสริมสร้างความเข้าใจถึงหลักการการใช้เครื่องมือการตั้งกระทู้ถามของวุฒิสภาที่ควรมีความแตกต่างจากสภาผู้แทนราษฎร โดยเฉพาะการสื่อให้สังคมเห็นและนำไปสู่
การสร้างหรือเสนอแนะข้อเสนอ หรือทางออกที่ฝ่ายบริหารควรต้องดำเนินการ โดยเน้นประเด็นเชิงระบบกลไก ยุทธศาสตร์ นโยบาย หรือหลักการที่ฝ่ายบริหารอาจจะยังคงขาดตกบกพร่องอยู่ รวมถึง
ควรเพิ่มทักษะให้แก่สมาชิกวุฒิสภาที่ยังขาดความเชี่ยวชาญในการเขียนกระทู้ถามให้กระชับและตรงประเด็นและทักษะการพูดในที่สาธารณะในกรณีการตั้งกระทู้ถามด้วยวาจา 2.3 การใช้เครื่องมือการตั้งกระทู้ถาม ควรใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่น ๆ ในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินฝ่ายบริหาร จะทำให้การควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การใช้เครื่องมือคณะกรรมาธิการในการศึกษา รวบรวม ค้นคว้าข้อมูล และ ติดตามตรวจสอบการทำงานของข้าราชการประจำหรือเจ้าหน้าที่หน่วยงานภาครัฐ ในขณะที่ในเชิงนโยบายก็ถามรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องโดยใช้การตั้งกระทู้ถาม กรณีกระทู้ถามใดได้ตั้งประเด็นถามไปแล้ว ก็ควรใช้กลไกของคณะกรรมาธิการในการติดตามร่วมด้วย หรือกระทั่งข้อเท็จจริงหรือปัญหาใดที่พบในคณะกรรมาธิการ ก็สามารถนำไปกำหนดเป็นประเด็นคำถามในกระทู้ถามเพื่อถามรัฐมนตรีได้ 2.4 ควรมีกลไกกลางที่เชื่อมโยงการทำงานระหว่างสมาชิกวุฒิสภากับองค์กรภาคประชาชน ยกตัวอย่างเช่น สถาบันการศึกษา หรือหน่วยงานภายในสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา เพื่อทำหน้าที่ในการสะท้อนปัญหาที่มาจากประชาชน รวมทั้งสนับสนุน เชื่อมโยง และเป็นฐานข้อมูล
ให้กับสมาชิกวุฒิสภาในการนำไปใช้ตั้งกระทู้ถาม หรือการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยวิธีอื่น ๆ 2.5 ควรนำเทคโนโลยีการประชุมออนไลน์มาปรับใช้กับการตอบกระทู้ถาม ในกรณีที่รัฐมนตรีไม่สามารถเดินทางเข้ามาร่วมประชุมได้ เพื่อลดปัญหาการเลื่อนตอบกระทู้ถามของรัฐมนตรี 2.6 ควรส่งเสริมให้มีการเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เพื่อให้ประชาชนได้เห็นถึงบทบาทการทำหน้าที่ของสมาชิกวุฒิสภาในการควบคุมการบริหารราชการแผ่นดินโดยเฉพาะการตั้งกระทู้ถาม อันสอดคล้องกับหลักการประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมที่ประชาชนสามารถเข้ามารับรู้ ติดตามตรวจสอบ และมีส่วนร่วมทางการเมืองได้
This research aims to study concepts and intentions of interpellation under the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017), and related laws in order to observe functions of monitoring and balancing of the senators on the governmental powers, as assigned in the transitory provision, section 269 of the current Constitution. Studied topics focus on causes of ineffective interpellation; results of interpellation, which affects the state administration; and proposing solutions or reformation of legal regulations and setting guidelines for efficient interpellation which effectively monitors and balances the governmental powers relevant to intentions defined in the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017). The researcher team has proposed the following recommendations relating to legal regulations and scopes of interpellation operation for efficient monitoring and balancing governmental powers, making the regulations relevant to intentions of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2560 (2017). 1.Recommendations on Legal Regulations 1.1 Reducing time for enquiring and replying each verbal interpellation, according to the regulations of the Senate sitting, B.E. 2562 (2019) and the amendments hereto, in order to focus on the topics and increase the number of questions. A comparative practice in Australia, time for enquiring main interpellations is limited in 1 minute and not over 2 minutes for replying. For the current situation in Thailand, relating to public or other problems, some senators operate consulting sessions, limited in 3 minutes, before entering the sitting agenda. This practice could be proceeded to question the government as well. 1.2 Limiting the period of replying, to the written interpellation, through the Royal Gazette, in 15 official days instead of 30 days. Regulation no.163 of the Senate sitting, B.E.2562 (2019), limits the period of replying, to the written interpellation within 30 days since the Prime Minister or Minister has received the questions. The research team deems that the period within 15 official days is more appropriate and responds to situations or problems that are interpellated. This period is more effective for the public affected by the problems, who should be acknowledged the situations and operations in process in proper time. The considerable period of replying to the written interpellation practiced in the United Kingdom is within 14 official days. 1.3 Empowering the President of the Senate to permit over 3 verbal interpellations in each sitting. In order to increase flexibility to interpellation operation, regulations of the Senate sitting, B.E. 2562 (2019) and the amendments hereto, should empower the President of the Senate to allow the appropriate number of verbal interpellations, not limited in 3, and extend the period of proceeding, on conditions of no effect to other agendas and no need of calling for the sitting vote. 1.4 Empowering the President of the Senate to follow up the replies to the interpellation noted by Ministers. With respect to regulations of the Senate sitting, B.E. 2562 (2019), the amendments and/or related regulations should empower the President of the Senate to be responsible for following up the replies and acknowledging the Senate sitting or the enquirers. This would support operations of the officials of the Secretariats of the Senate to conveniently follow up operations of the government and gain more cooperation from related offices. 2. Recommendations on Policy Making and Other Guidelines 2.1 Senator manual should be provided. Working guidelines for the senators, especially field trips for data gathering; data searching; and information sources supporting the work of senators, should be composed and accessible. Also, the supportive office or staff for the senators are required in order to provide suggestions or devices for effective and appropriate monitoring the state administration. 2.2 Awareness of principles of interpellation operations by senators, which should be different from working of the House of Representatives, should be publicized. The public should see and apply interpellations for proposing suggestions or solutions, focusing on systems; strategies; policies; or principles, to the government and cause further operations. Unskillful senators should be trained about writing a concise interpellation and public speaking for proposing verbal interpellation. 2.3 Interpellation should be operated along with other devices for efficiently monitoring the state administration. For example, for dealing with education, the Committee on Education could gather; search; or investigate administration of permanent or state officials; on the policy aspect, interpellation could enquire the Minister in charge. For interpellation afterward, the committee could follow up, and facts or problems found could be the topics of interpellation enquiring the Minister further. 2.4 There should be a cooperative unit, such as educational institutes or the Secretariat of the Senate, linking operations of the Senate and public organizations. This cooperative unit could reflect public problems; support working; be a link; and be databases for senators monitoring the state administration by interpellation or other operations. 2.5 Online technology should be applied in interpellation operations. This could lessen postponing replies to the interpellation, due to the absence of related Ministers. 2.6 Operations of interpellation should be publicized through public media in order to acknowledge the public about roles and duties of senators in monitoring the state administration through interpellation. This is in accordance with the principles of participatory democracy that the public should acknowledge; follow up; investigate; and participate in politics of the country.