ชุดโครงการวิจัยโครงข่ายการตลาดเพื่อสร้างรายได้แก่วิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 : สมุทรปราการโมเดลนี้ กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัยไว้ 5 ประการ ได้แก่(1) เพื่อพัฒนาโครงข่ายการตลาดให้กับวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็ก ทำให้เกษตรกร/แรงงานภาคบริการที่เข้าร่วมโครงการ มีรายได้เพิ่มขึ้นสุทธิ 30% หรือเพิ่มขึ้นสุทธิ 10,000 บาทต่อครัวเรือน(2) เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กโดยการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ให้มีมูลค่าสูงขึ้นสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค(3) เพื่อสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการโครงข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้ในสภาวะวิกฤต(4) เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะของคนฐานรากทั้งในภาคการเกษตร และภาคบริการ ให้มีองค์ความรู้เพิ่มขึ้น ผ่านกระบวนการเสริมและพัฒนาทักษะที่มีอยู่เดิม หรือการสร้างทักษะใหม่ (Reskill & Upskill) และ(5) เพื่อบริหารจัดการงานวิจัย ประเมินผลกระทบของโครงการ บริหารจัดการภาคีเครือข่ายและบริหารจัดการกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งการสื่อสารผลงานวิจัยสู่สาธารณะไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยชุดโครงการวิจัยนี้ ประกอบไปด้วย 6 โครงการวิจัยย่อยเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่ตั้งไว้ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีเกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนชนาดเล็กเข้าร่วม จำนวน 312 ครัวเรือน เกิดการสร้างนวัตกร จำนวน 13 ราย สร้างรายได้เพิ่มขึ้นสุทธิ 30 % จำนวน 97 ครัวเรือน เกิดผลิตภัณฑ์ที่ได้มีการยกระดับและมาตรฐาน จำนวน 14 ผลงาน ซึ่งได้มีการจัดจำหน่ายเพื่อสร้างรายได้แล้ว จำนวน 11 ผลงาน เกิดชุดความรู้ตัวแบบเชิงธุรกิจที่พร้อมขยายผล จำนวน 5 ชุดความรู้ เกิดการสื่อสารผลงานวิจัยสู่สาธารณะผ่านช่องทางต่าง ๆ จำนวน 5 ช่องทาง ซึ่งสร้างผลงานมากกว่า 50 ชิ้น เกิดเวทีเพื่อสรุปผล ถอดบทเรียน ออกแบบและสร้างกลไกการบริหารจัดการกลุ่มโครงข่ายการตลาดวิสาหกิจชุมชน จำนวน 2 ครั้ง ทั้งกลุ่มเกษตรกรและผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนชนาดเล็ก และกลุ่มภาคีเครือข่ายภาครัฐ และภาคเอกชน ผลการศึกษาวิจัยข้างต้น ได้นำไปสู่การสร้างข้อเสนอเชิงนโยบายระดับพื้นที่และได้โครงการนำร่องของจังหวัดสมุทรปราการเพื่อสนับสนุนวิสาหกิจชุมชนขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 รวมทั้งกลไกจังหวัดขับเคลื่อนตัวแบบเชิงธุรกิจสมุทรปราการที่ประกอบด้วยภาคประชาสังคม (ผู้ประกอบการ/ชาวบ้าน) หน่วยงานภาครัฐหน่วยงานภาคเอกชน และมหาวิทยาลัย (นักวิชาการ) ที่มาจากการถอดบทเรียนร่วมกัน
Objectives of the research project of Marketing Network for Creating Incomes for Small Community Enterprises Affected by the COVID-19 Pandemic: a Samutprakarn Model were 1) to develop a marketing network for small community enterprises, making farmers and/or workers of service sector gain 30% increased incomes or 10,000.- baht per household; 2) to raise product qualities and standards of small community enterprises by science, technology and innovations, adding values to the products according to consumer requirements; 3) to create managerial and effective systems and devices of marketing network of small community enterprises, assisting them to be self-reliable in crisis; 4) to develop knowledge and skills of base people in farming and service sectors through reskilling and upskilling training; and 5) to administrate researches, network partners and targeted groups; to assess project influences; and to publicize the research to targeted groups. This research project comprised of six sub-projects in order to achieve the set objectives. Research main participants were 312 households of farmers and entrepreneurs of small community enterprises. Thirteen innovators were trained. 97 households gained 30% of increased incomes. Fourteen products were developed and standardized; eleven products were marketed and gained incomes. Five titles of original knowledge for business possibilities were composed. Reports of the research project were publicized through five various channels that over fifty works were presented. Two discussion forums were held, for outcomes summering; lessons concluding; and designing and creating management mechanism of community enterprises marketing networks, which included farmers, small community enterprise entrepreneurs and network partners – the state and private sectors. Research outcomes stated above led to policy suggestions for local areas; an initiative project of promotion for small community enterprises in Samutprakarn Province affected by COVID-19 pandemic; and a driving mechanism of Samutprakarn business model, comprising of social sector – entrepreneurs and community members; state sector; private sector; and academic institute – scholars, joining in extracting collective lessons.