การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมสุขภาพ และเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพในประชากร กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานที่มีเพศ อายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ที่แตกต่างกัน ในหมู่บ้านแห่งหนึ่งในตำบลบ้านระกาศ อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่างคือประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน จำนวน 181 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีอิสระ (Independent t-test) และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่าประชากรกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน มีพฤติกรรมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ในรายด้านพบว่าพฤติกรรมการเจ็บป่วยและการรักษาโรค พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค และพฤติกรรม การมีส่วนร่วมในงานสาธารณสุข อยู่ในเหมาะสมระดับปานกลาง เมื่อจำแนกพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด อยู่ในระดับเหมาะสมปานกลาง ยกเว้นการดูแล สุขภาพทั่วไปอยู่ในระดับเหมาะสมมาก เมื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมสุขภาพของกลุ่มตัวอย่าง พบว่ากลุ่มตัวอย่างเพศหญิงมีคะแนน เฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ในขณะที่กลุ่มตัวอย่างที่มีอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมสุขภาพไม่แตกต่างกัน
The purposes of this survey research were to study the health behaviors of people at risk of diabetes in a village, Banrakad Sub-district, Bang Bo District, Samutprakan Province and to compare health behaviors among participants with different gender, occupation, education level and monthly income with respect to the health behaviors of people at risk of diabetes. The sample were 181 people ages 15 years or older at risk of diabetes. The sample were derived from a systematic random sampling. Data was obtained by using questionnaire and analyzed by frequency, percentage, means, standard deviation, independent t-test, and one way analysis of variance (ANOVA). Results revealed that the health behaviors as a whole of people at risk of diabetes were in a moderate level. On the domain of the behaviors of illness and treatment of diseases, the behaviors of health promotion and disease prevention, the behaviors of participation in pubic health were in a moderate level. Behavioral classification on health promotion and disease prevention found that dietary behaviors, physical activity, and stress management In a medium level except for personal hygiene were in a high level. When compare health behaviors among groups, it was found that female participants has significant higher mean score than male participants. Whereas no significantly differences were identified by participants’ age, occupation, or monthly income for health behaviors performed.