การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิต (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยมีเนื้อหาครอบคลุม 4 ประเด็นหลัก คือ 1) ด้านบริบทของหลักสูตร ได้แก่ วัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหาสาระของหลักสูตร 2) ด้านปัจจัยป้อนเข้า ได้แก่ อาจารย์ นักศึกษา และปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน 3) ด้านกระบวนการผลิต ได้แก่ การบริหารและการบริการหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผลการสอน และ 4) ด้านคุณภาพของผลผลิต ซึ่งกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย นักศึกษา อาจารย์ที่ ร่วมสอนในหลักสูตรการแพทย์แผนจีนบัณฑิตและผู้ใช้บัณฑิต ผลการประเมินหลักสูตรด้านบริบท พบว่า ภาษาที่ใช้ในการแสดงวัตถุประสงค์ของหลักสูตรมีความชัดเจน มีความสอดคล้องกับความต้องการของสังคม มีความเหมาะสมในการใช้ อธิบายหรือแสดงถึงการพัฒนาผู้เรียนด้านสติปัญญา ทักษะ เจตคติ และความสามารถในการนำไปปฏิบัติ ในส่วนของโครงสร้างและเนื้อหาสาระของหลักสูตร พบว่า มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด โดยเฉพาะในกลุ่มวิชาชีพ ผลการประเมินหลักสูตตรด้านปัจจัยป้อนเข้า พบว่า จุดเด่นของคุณลักษณะของอาจารย์และนักศึกษา คือ มีความรับผิดชอบในงานที่ได้ร้บมอบหมาย สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น มีความรักและภูมิใจในวิชาชีพ มีความสนใจในการศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ และทันต่อเหตุการณ์ ตามลำดับ ส่วนในด้านปัจจัยที่เอื้อต่อการเรียนการสอน พบว่า มีความเพียงพอ ความสะดวกในการใช้งานและคุณภาพในระดับมาก มีความทันสมัยระดับปานกลาง ผลการประเมินหลักสูตรด้านกระบวกนการผลิต พบว่า การบริหารและบริการหลักสูตร การจัดการเรียนการสอนและการวัดและประเมินผลการเรียน มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผลการประเมินคุณภาพของผลผลิต (บัณฑิต) จากการที่ บัณฑิตประเมินตนเองและจากการประเมินโดยผู้ใช้บัณฑิต ทำให้ทราบว่า บัณฑิตมีความสามารถในการทำงานโดยทั่วไปอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยการประเมินจากผู้ใช้บัณฑิตสูงที่สุด แต่ควรปรับปรุงในเรื่องการวางแผนการทำงานให้เป็นระบบ และการใช้ภาษาอังกฤษ สำหรับความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพพบว่า บัณฑิตมีความคิดเห็นว่าตนเองมีความสามารถในการทำงานตามหลักวิชาชีพในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยนำความรู้จากกลุ่มวิชาการฝังเข็มและนวดทุยหนา เป็นด้านที่บัณฑิตนำไปใช้ในการทำงานมากที่สุด ในขณะที่กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ เป็นด้านที่บัณฑิตนำไปใช้น้อยที่สุด สำหรับความเห็นของผู้ใช้บัณฑิต พบว่า ทักษะการสอบถามอาการผู้ป่วย ทักษะการฝังเข็ม ทักษะการครอบแก้ว และทักษะในการแนะนำให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วย เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และทักษะการใช้ยาจีน มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
The objective of this study was to evaluate the Bachelor of Traditional Chinese Medicine (improved copy in academic year 2019) curriculum, covering four main aspects: 1) Curriculum context including curriculum objectives, curriculum structure and curriculum details 2) Curriculum input factors, involving lecturer, students, and factors influencing teaching and learning 3) Curriculum process factors, encompassing curriculum management, teaching and learning processes, and assessment 4) Curriculum output quality, focusing on the assessment of graduates. The target population for this study consists of students, faculty members involved in teaching the Chinese Medicine program, graduates, and employment users and specialist from several sections. The evaluation of the curriculum’s context reveals that the language used to express the curriculum’s objectives is clear, aligned with societal needs, and appropriate. It effectively explains or demonstrates the development of students in terms of intellectual capacity, skills attitudes, and practical abilities. In terms of the curriculum’s structure and content. It is highly suitable, particularly in professional subjects. Regarding input factors, the strengths of lecturers and students include a sense of responsibility, the ability to work collaboratively, enthusiasm and pride in their profession, and an interest in acquiring new knowledge and adaptability. The factors influencing teaching and learning are generally sufficient, providing good assessibility and high quality. In terms of the factors supporting teaching and learning, there is an adequate level of convenience, usability, and overall high quality, with a moderate level of up-to-dateness. The evaluation of the process factors indicates that curriculum management, teaching and learning processes, and assessment are highly appropriate. These factors demonstrate a high level of suitability in facilitating effective teaching and learning experiences. Regarding output quality, the assessment of graduates indicates that they posses overall excellent competence for employment. The highest-rated aspect is ethics and professionalism. However, improvements are needed in terms of work planning and English language proficiency. The self-assessment by graduates and feedback from users of the graduated provide valuable insights into their abilities, with the highest-rated aspect being ethics and professionalism. However, there is room for improvement in terms of work planning systemization and English language proficiency. Regarding professional competence, graduates believe they posses the highest level of competence in their overall professional abilities. The knowledge gained from subject rated to acupuncture, Chinese herbal medicine, and Tuina massage are the areas where graduates apply their skills the most, while the foundational subjects are the areas where graduates apply their skills the least. Feedback from users of the graduates indicates that the highest-rated skills are the ability to interview patients, acupuncture skills, cupping skills, and the ability to provide counseling and advice to patients. The lowest-rated skill is the ability to use Chinese medicine effectively.