DSpace Repository

ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น

Show simple item record

dc.contributor.advisor รัชนี นามจันทรา
dc.contributor.advisor พรศิริ พันธสี
dc.contributor.advisor Rachanee Namjuntra
dc.contributor.advisor Pornsiri Pantasri
dc.contributor.author สุเธียรนุช ศิรินันติกุล
dc.contributor.author Sutearanut Sirinuntikul
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-05-20T14:25:37Z
dc.date.available 2022-05-20T14:25:37Z
dc.date.issued 2013
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/319
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลผู้ใหญ่) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2556 th
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัยต่อความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น โดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเองของจอห์นสัน กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มารับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น จำนวน 90 คน จับสลากสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยจัดเข้าคู่กัน กลุ่มละ 45 คน กลุ่มทดลองได้รับข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย กลุ่มควบคุมได้รับการให้ข้อมูลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ แบบสังเกตพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น และเครื่องวัดสัญญาณชีพอัตโนมัติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา Wilcoxon signed ranks test, Mamm-Whitney U-test, Dependent t-test และ indenpendent t-test ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มทดลองมีคะแนนความวิตกกังวล ความดันเลือด และอัตราการเต้นของชีพจรหลังการได้รับข้อมูลน้อยกว่าก่อนการได้รับข้อมูลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 รวมทั้งมีคะแนนความวิตกกังวลและความดันเลือดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 แต่อัตราการเต้นของชีพจรหลังการได้รับข้อมูลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุาไม่แตกต่างกัน นอกจากนี้กลุ่มทดลองมีพฤติกรรมการให้ความร่วมมือในการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีระยะเวลาในการทำการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้นน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 th
dc.description.abstract The purpose of this quasi-experimental research was to study the effects of concrete-objective information on patient's anxiety and cooperation to upper gastrointestinal endoscopy, Johnson's Self-Regulation theory was used to guide the study. Subjects were composed of 90 patients who underwent gastroscopy. They were randomly assigned to an experimental (45 subjects) or a control group (45 subjects) under matched pair technique. The experimental group received concrete-objective information and the control group received routine information. Data were collected using and Demographic Questionnaires State-Anxiety (STAI form X-1), Cooperative Behaviors Observation Record and the automatic electronic vital sign monitor. Data were analyzed by descriptive statistics, Wilcoxon Signed Raks test, Mann-Whitney U test, Dependent t-test, and independent t-test. The research findings were as follows: The anxiety scores, blood pressure, and pulse rate of the experimental group after receiving concrete-objective information were significantly less than before receiving the information (p<001). The anxiety scores and blood pressure of the experimental group were also significantly less than those of the control group (p<.001), while pulse rate of the two groups after receiving the information were not significantly different. In addition, the experimental group had cooperative behaviors significantly higher than the control group (p<.001) and had the duration of upper gastrointestinal endoscopy significantly shorter than the content group (p<.001). th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject การให้ความรู้แก่ผู้ป่วย th
dc.subject Patient education th
dc.subject การส่องกล้องตรวจหลอดอาหาร th
dc.subject Esophagoscopy th
dc.subject ความวิตกกังวล th
dc.subject Anxiety th
dc.title ผลของการให้ข้อมูลแบบรูปธรรม-ปรนัย ต่อความวิตกกังวลและการให้ความร่วมมือของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องระบบทางเดินอาหารส่วนต้น th
dc.title.alternative Effects of Concrete-Objective Information on Patient's Anxiety and Cooperation to Upper Gastrointestinal Endoscopy th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลผู้ใหญ่ th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account