DSpace Repository

การปรับตัวของนักเรียนที่เรียนโรงเรียนสองภาษา : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ G.7-G.9 โรงเรียนสารสาสน์ วิเทศร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ภุชงค์ เสนานุช
dc.contributor.advisor Puchong Senanuch
dc.contributor.author ธารา ด่านเจริญสุข
dc.contributor.author Thara Dangaroensuk
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-11-11T02:56:05Z
dc.date.available 2024-11-11T02:56:05Z
dc.date.issued 2008
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3241
dc.description การศึกษาอิสระ (สส.ม.) (การบริหารสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2551 en
dc.description.abstract การศึกษาเรื่อง “การปรับตัวของนักเรียนที่เรียนโรงเรียนสองภาษา : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ G.7-G.9 โรงเรียนสารสาสน์ วิเทศร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับตัวของนักเรียนที่เรียนโรงเรียนสองภาษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักเรียนที่เรียนโรงเรียนสองภาษา และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการปรับตัวของนักเรียนระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน มีความแตกต่างกันหรือไม่การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยมีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ นักเรียนโรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล่า ระดับชั้น G.7 G.8 G.9 จำนวน 225 คนผลการศึกษา พบว่า นักเรียนเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุ 14 ปี มีพี่น้อง รายได้รวมของครอบครัวต่อเดือน 25,000 บาทขึ้นไป บิดาและมารดาประกอบอาชีพธุรกิจส่วนตัว รายได้เฉลี่ยต่อวันของนักเรียนอยู่ที่ 51-100 บาท อาศัยบ้านของตนเอง การเดินทางมาโรงเรียนจะมาโดยรถยนต์ส่วนตัว ใช้เวลาเดินทางมาโรงเรียน น้อยกว่า 30 นาที และนักเรียนส่วนมากจะเรียนเสริมพิเศษเมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับการปรับตัวของนักเรียน พบว่า ความแตกต่างในเรื่องเพศ ระดับชั้นเรียน อาชีพของบิดาและมารดา รายได้ต่อวัน และการเรียนเสริมพิเศษของนักเรียน จะส่งผลต่อการปรับตัวของนักเรียนในด้านการเรียน ด้านสังคม และด้านอารมณ์ส่วนบุคคลข้อเสนอแนะจากการศึกษา สถาบันการศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับนักเรียนและสังคมรอบข้างของการอยู่ร่วมกันในสังคม เพื่อให้เด็กนักเรียนนั้นส่งผลกระทบน้อยที่สุด สถาบันการศึกษาต้องมีแนวทางในการให้คำปรึกษาทุกด้านไม่ใช่เฉพาะด้านการเรียนเท่านั้น อาจจะเป็นในด้านเรื่องเพื่อน หรือเรื่องทั่วไปได้พฤติกรรมที่ควรพัฒนา คือ การปรับตัวเข้ากับกลุ่มเพื่อ เพราะมีอิทธิพลในการปรับตัวของนักเรียนๆ ควรมีครูร่วมดูแลให้คำปรึกษาได้โดยที่ต้องเข้าใจนักเรียนให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถแก้ปัญหาได้เพื่อให้นักเรียนมีการพัฒนาในการปรับตัวที่ดีในการอยู่ภายในสถาบันการศึกษาที่ดีส่วนข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป ควรจะทำการศึกษาตัวแปรอื่นๆ เช่น ระยะเวลาที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนเนื่องจากนักเรียนต้องการเวลาที่เหมาะสมในการปรับตัวและควรทำการศึกษากับครูประจำชั้น เพราะจะได้ข้อมูลมากกว่าที่ได้จากนักเรียนเพียงด้านเดียวและการศึกษาจากนักเรียนโรงเรียนรัฐบาล ก็จะได้ข้อมูลมากขึ้นสามารถนำมาเปรียบเทียบความแตกต่างกันได้ en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การศึกษาทวิภาษา en
dc.subject Education, Bilingual en
dc.subject นักเรียนมัธยมศึกษา en
dc.subject High school students en
dc.subject การปรับตัวทางสังคม en
dc.subject Social adjustment en
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en
dc.subject Adjustment (Psychology) en
dc.title การปรับตัวของนักเรียนที่เรียนโรงเรียนสองภาษา : ศึกษาเฉพาะกรณีนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ G.7-G.9 โรงเรียนสารสาสน์ วิเทศร่มเกล้า เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative The Adaptation of Bilingual Students G.7-G.9 at Sarasas Witaed Romklao School, Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตร์มหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การบริหารสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account