การศึกษาด้วยตนเองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลการชะลอความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุโดยวิธีการสังเคราะห์จากการใช้ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการชะลอความรุนแรงของข้อเข้าเสื่อมในผู้สูงอายุ (2) เพื่อทดลองนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อชะลอความรุนแรงของข้อเข้าเสื่อมของผู้สูงอายุมาใช้ ผลการศึกษาพบว่า ขั้นตอนการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลประกอบด้วย (1) การซักประวัติที่เกี่ยวข้องกับโรคข้อเข่าเสื่อมประกอบด้วย เพศ อาชีพ อายุ ปัจจัย ที่ทำให้เกิดอาการข้ออักเสบ ตำแหน่งของข้อที่อักเสบ อาการฝึดในข้อตอนเช้า ความรุนแรงของข้ออักเสบ ช่วงเวลที่ปวดมาก ความสัมพันธ์การปวดกับการเคลื่อนไหว การดำเนินของโรค การรักษาที่เคยได้รับโรคทางกรรมพันธุ์ อาการอื่นร่วมด้วย (2) การตรวจร่างกายจากการดูลักษณะท่าทางเดิน การคลำลักษณะข้อบวมน้ำ การกดเจ็บตามแนวข้อ การตรวจหา Crepitus ซึ่งต้องพิจารณาอาการปวดรอบข้อการปวดในข้อ ข้อฝึด และข้อบวมน้ำ (3) การประเมิน ประกอบด้วย (3.1) การประเมินความเจ็บปวด ประกอบด้วย ปวดขณะที่เดินบนที่ราบ ปวดขณะขึ้นบันได ปวดขณะนอนกลางคืน ปวดขณะนั่งพัก ปวดขณะนั่งยองๆ (3.2) กาประเมินภาวะข้อฝืด ประกอบด้วย อาการข้อฝึดตลอดเวลาที่เคลื่อนไหว ฝืดขณะลุกจากท่านั่งเป็นท่ายืน (3.3) การประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ประกอบด้วย ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้บ่อย ได้นานๆ ครั้ง และไม่ได้เลย จากนั้นวินิจฉัยแยกอาการรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อมเป็น 3 ระดับ คือ ข้อเข่าเสื่อมรุนแรงน้อย ข้อเข่าเสื่อมรุนแรงปานกลาง และข้อเข่าเสื่อมรุนแรงมาก (4) โปรแกรมสุขศึกษาที่ชะลอความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อม คือ อาหาร การออกกำลังกาย การลดแรงกดต่อข้อเข่า และการประคบร้อนด้วยสมุนไพร ข้อเสนอแนะการสร้างแนวปฏิบัติการพยาบาลการชะลอความรุนแรงของข้อเข่าเสื่อมในผู้สูงอายุควรใช้ระยะเวลาในการประเมินประมาณ 3 สัปดาห์ขึ้นไป เพื่อชะลอความรุนแรงของอาการปวดอาการฝืดตึงข้อเข่าและสามารถปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้เพิ่มขึ้นจากเดิม
This independent study was (1) to develop the clinical practice guideline for reducing the severity of osteoarthritis of knee in the elderly by synthesis related research utilization (2) to test the clinical practice guideline in the elderly patients with osteoarthritis of knee. The results found that the established process in practicing this clinical practice guideline were (1) history examination in osteoarthritis patients, which comprised of sex, occupation, risk factors inducing arthritis, location of inflammation, tense joint in early morning time, severity of joint, duration of painfulness, pain during have ranging of motion, progressing of osteoarthritis of knee, previous treatment, heredity disease, and other related signs. (2) Physical examination included gait, swelling joint palpation, joint line tenderness, crepitus of soft tissue around joint and joint painfulness, tight and swelling joint. (3) Assessment were (3.1) pain assessment during plain walking step raising and sitting on the hell in the specific time such as at night and during rest. (3.2) tense joint assessment in all motions and changeable position from sit-down to stand up (3.3) daily life activity assessment which ranging in three levels from can do it always to completely can not do it. Subsequently, this assessment was differential diagnos to be 3 groups, included mild, moderate and severe osteoarthritis. (4) Reduce damaging health education program was comprises of nutrition, exercise program, appropriate positions decreasing pressure to joint and hot compression with herbal.