การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพชนิดพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการตนเอง และเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่มีผลต่อการจัดการตนเองของพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสงฆ์ ผู้ให้ข้อมูลคือ พระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 จำนวน 12 รูป ซึ่งทำการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยผู้ให้ข้อมูลจะต้องเป็นพระภิกษุสงฆ์ผู้มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลสงฆ์ อายุ ≥ 20 ปี อยู่ในสมณะเพศอย่างน้อย 1 ปี จำพรรษาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานครและเขตปริมณฑลต่อเนื่องมาเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปี หากมีโรคแทรกซ้อนโรคนั้นๆ ต้องอยู่ในระยะที่ควบคุมได้ เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2556 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยผู้วิจัย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แนวคำถามในการสัมภาษณ์เจาะลึก แนวทางการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และเทปบันทึกเสียง ส่วนวิธีที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึก การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการบันทึกภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์ ตามวิธีการของ Colaizzi (1978) ผลการศึกษาพบว่า การจัดการตนเองของพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย 2 ประเด็นหลัก คือ 1) การรับรู้เกี่ยวกับโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 2) การจัดการตนเองเมื่ออาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ส่วนเงื่อนไขหรือสภาพการณ์ที่มีผลต่อการจัดการตนเองของพระภิกษุสงฆ์อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ประกอบด้วย 4 ประเด็น คือ 1) อาหารมาจากการรับบิณฑบาต 2) ความเครียด 3) ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน และ 4) การท้อแท้สิ้นหวัง การศึกษาครั้งนี้ทำให้เข้าใจการจัดการตนเองของพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ภายใต้บริบทของพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ เป็นแนวทางในการถวายความรู้และพัฒนารูปแบบการจัดการตนเองของพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานที่ 2 โดยไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยของสงฆ์ และมีความสอดคล้องเหมาะสมกับวิถีชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2
The descriptive qualitative research aimed to study self management and conditions or situations affected on self management of Buddist monks with type II diabetes mellitus attended Diabetes Clinic at Priest Hospital. Tweleve participants were the Buddist monks with type II diabetes mellitus. The purposive sampling was used to include the participants. The criteria of the participants were the Buddist monks with type II diabetes mellitus attended Diabetes Clinic at Priest Hospital, aged more than 20 years old, being the Buddist monks at least one year, living in Bangkok and perimeter, and controllable complications. Data was collected during August to November 2013. The instruments were research, demographic data questionnaire, interview guidelines, non participant observation guidelines, and tape recoder. Moreover, the methods of data collection were in-depth interview, non participant observation, and field notes. Colaizzi's method of data analysis was used. The result of this study found that were two themes of the self management of Buddist monks with type II diabetes mellitus, which were the perception of typr II diabetes mellitus and the self management when Buddist monks had type II diabetes mellitus. Whereas the conditions or situations affected on self management of Buddist monks with type II diabetes mellitus consisted of four themes, which were receiving food from aims bowl, stress, complications from diabetes mellitus, and disheratenment and desperate. This study would be helpful for understanding the self management of Buddist monks with type II diabetes mellitus under their Tripitaka. Moreover, this study could be able to apply as the guideline for providing knowledge and developing self management model of Buddist monks with type II diabetes mellitus without being contradictory with Tripitaka and being congruent with life style of Buddist monks with type II diabetes mellitus.