วัตถุประสงค์เพื่อทราบผลของการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบักที่มีต่อความสามารถในการตบในนักกีฬาแบดมินตันวิธีการดำเนินวิจัยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาแบดมินตัน อายุระหว่าง 14 –18 ปี ทั้งเพศชายและหญิง จำนวน 16 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 8 คน ได้แก่ กลุ่มควบคุม ทำการฝึกซ้อมกีฬาแบดมินตันปกติ และกลุ่มทดลอง ทำการฝึกกีฬาแบดมินตันปกติร่วมกับเสริมโปรแกรมการฝึกกล้ามเนื้อรอบสะบัก จำนวน 3 วันต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ความเร็วเชิงมุมของข้อไหล่ และความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบ ก่อนและหลังการได้รับการฝึก เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานก่อนและหลังการฝึก และระหว่างกลุ่มโดยการทดสอบค่าทีที่ p<0.05 ผลการวิจัย 1. ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม พบการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก แต่เฉพาะกลุ่มทดลองที่พบการเพิ่มขึ้นของความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ 2. กลุ่มทดลองแสดงการเพิ่มขึ้นของแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบักสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ทั้งกล้ามเนื้อ Middle trapezius, Lower trapezius และ Rhomboid(p = 0.01, 0.01 และ 0.02 ตามลำดับ) สรุปผลการวิจัยโปรแกรมการฝึกความแข็งแรงกล้ามเนื้อรอบสะบักเสริมการฝึกปกติสามารถเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก โดยพบว่ากลุ่มทดลองมีการเพิ่มขึ้นของกล้ามเนื้อรอบสะบักมากกว่ากลุ่มควบคุม และมีการเพิ่มของความเร็วของไม้แบดมินตันขณะตบได้อย่างมีนัยสำคัญ
Purpose: The purpose of this research was to study the scapular muscle training program effect to smash performance in badminton athletes. Methods: The sample consisted of 16badminton players between the ages of 14-18, both males and females, divided into 2groups, 8persons each group. The control group practicing regular badminton whereas the experimental group perform regular badminton training together with supplementing the scapula muscle training program for 3days per week for 6weeks. Test the strength of the scapula muscles, shoulder angular velocity and the badminton racket velocity before and after trained. Compare the average and Standard deviation before and after training and between groups by testing the t values. The level of statistically significant difference for analyses was set at p <0.05.Results1. Both the experimental group and the control group significant increase in the strength of the scapula muscles but only the experimental group found a significant increase in the badminton racket velocity.2. The experimental group showed a significant increase in the strength of the scapula muscles in both Middle trapezius, Lower trapezius and Rhomboid muscles (p = 0.01, 0.01 and 0.02 respectively). Conclusion : The scapular muscle training program enhance the strength of the scapular muscle strength. It was found that the experimental group had more muscle growth around the scapular than the control group. Moreover there is a significant increase in the badminton racket velocity.