การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการย้อมสีธรรมชาติด้วยสีย้อมจากใบมะยงชิดสดและแห้ง รวมถึงการวิเคราะห์ค่าสีและศึกษาความคงทนของสีต่อแสง การซัก เหงื่อ และ การขัดถู โดยใช้สารช่วยย้อม 4 ชนิด คือ สารส้ม น้ำปูนใส เหล็ก และใบยูคาลิปตัสสด ใช้สภาวะการย้อมแบบเติมสารช่วยติดสีก่อนการย้อม ผลการศึกษาพบว่าสีย้อมใบมะยงชิดสดและแห้ง สามารถย้อมติดสีเส้นใยไหมและฝ้ายได้ โดยให้เฉดสีที่แตกต่างกันตามคุณสมบัติของสารช่วยย้อม ได้แก่ สีเหลือง น้ำตาล และดำ สีย้อมจากใบสดให้สีที่มีความสว่างกว่าสีย้อมจากใบแห้งในเส้นใยทั้งสองชนิด โดยการย้อมเส้นใยไหมจะได้สีที่สว่างกว่าเส้นใยฝ้าย และการใช้เหล็กเป็นสารช่วยย้อมจะได้สีที่มีความสว่างน้อยที่สุด สีย้อมจากใบมะยงชิดสดและแห้งให้เฉดสีน้ำตาลทั้งในเส้นใยไหมและฝ้าย ยกเว้นเมื่อใช้สารส้มเป็นสารช่วยย้อมด้วยใบสดจะให้เฉดสีเหลือง นอกจากนี้เมื่อใช้เหล้กเป็นสารช่วยย้อมจะให้เฉดสีดำ โดยพบว่า การใช้สีย้อ้มจากใบสดจะให้เฉดสีดำมากกว่าการใช้สีย้อมจากใบแห้ง ความคงทนของสีต่อแสง การซัก เหงื่อ การขัดถู อยู่ในระดับยอมรับได้ถึงดี งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นว่าใบมะยงชิดสามารถนำมาใช้เป็นสีย้อมจากธรรมชาติชนิดใหม่และช่วยเพิ่มช่องทางส่งเสริมพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่มีมูลค่าได้ต่อไป
The objectives of this research were to study natural dyeing using dyes extracted from fresh and dried leaves of Bouea burmanica Griff, to identify color differences, and to evaluate the color fastness to light, washing, perspiration and abrasion. Four types of mordants, namely alum, lime water, iron and fresh eucalyptus leaves were used in the experiments and pre-mordant staining condition was used. The results showed that the dyes from fresh and dried leaves were able to dye silk and cotton fibers and obtained different shades according to the type of mordants, including yellow, brown and black. In both types of fibers, the dye from the fresh leaves produced a brighter color than the dye from the dried leaves. Silk fiber was dyed in a brighter hue than cotton fiber. The usage of iron as a mordant gave the least bright color. The dyes from fresh and dried leaves gave a brown hue in both silk and cotton fibers, except when using alum as a mordant the fresh leaves will give a yellow hue. In addition, when iron was used as a mordant, it gave a black hue. It was found that the dye from the fresh leaves gives a darker hue than the dye from the dried leaves. Color fastness to light, washing, perspiration and abrasion were all in acceptable levels. This research shows that the leaves of B. burmanica can be used as a new natural dye and can help to further enhance the development of valuable woven products.