DSpace Repository

ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน

Show simple item record

dc.contributor.advisor จริยาวัตร คมพยัคฆ์
dc.contributor.advisor หทัยชนก บัวเจริญ
dc.contributor.advisor Jariyawat Kompayak
dc.contributor.advisor Hathaichanok Buajaroen
dc.contributor.author ประเสริฐ ศรีนวล
dc.contributor.author Prasert Srinual
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Nursing
dc.date.accessioned 2022-05-27T10:47:23Z
dc.date.available 2022-05-27T10:47:23Z
dc.date.issued 2014
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/326
dc.description วิทยานิพนธ์ (พย.ม.) (การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2557 th
dc.description.abstract การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน ที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดกับผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ในชุมชนที่ได้รับการดูแลปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชนจำนวน 30 คน คัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้แบ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลปกติ 15 คนและกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดฯ 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ลักษณะส่วนบุคคล ภาวะการเจ็บป่วยด้วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังและภาวะเสี่ยงที่ทำให้เกิดการกำเริบของภาวะหายใจลำบาก แบบประเมินภาวะสุขภาพและแบบประเมินภาวะหายใจลำบาก ซึ่งได้แก่ Dyspnea Visual Analogue Scale (DVAS), Peak Flow Meter จากค่่า Force Expiratory Volume in 1 second (FEV1) และค่า Peak Expiratory Flow (PEF) รวมทั้งการเป่า-ดูดขวดน้ำ ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบาก ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการคำนวณค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเปรียบเทียบ Kolmogorov - Smirnov และ Mann-Whitney U test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดฯ มีคะแนนเฉลี่ยการหายใจลำบากจากการประเมิน DVAS = 24 (S.D. = 9.10) คะแนนเฉลี่ยจาก EFV1 = 1.72 (S.D. = 0.32) คะแนนเฉลี่ยจาก PEF = 3.73 (S.D. = 54.05) และคะแนนเฉลี่ยการเป่า - ดูดขวดน้ำ = 8.78 (S.D.=0.74) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูปกติมีคะแนนเฉลี่ยการหายใจลำบากจากการประเมิน DVAS = 26 (S.D. = 9.85) คะแนนเฉลี่ยจาก EFV1 = 1.69 (S.D. = 0.32) คะแนนเฉลี่ยจาก PEF = 3.95 (S.D. = 42.13) และคะแนนเฉลี่ยการเป่า - ดูดขวดน้ำ = 7.39 (S.D. = 1.17) เมื่อเปรียบเทียบภาวะหายใจลำบากแต่ละวิธี ด้วยสถิติ Mann - Whitney U test พบว่า ภาวะลำบากของกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับโปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพปอดฯ กับกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลปกติไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อประเมินด้วย DVAS, FEV1 และ PEF แต่จากการประเมินด้วยการเป่า - ดูดขวดน้ำพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการดูแลปกติมีภาวะหายใจลำบากน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value = .002) ข้อเสนอแนะ: นำโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดฯ ไปพัฒนาและศึกษานำร่องก่อนการนำไปใช้เปรียบเทียบภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน th
dc.description.abstract The experimental research aim to compare dyspnea between Chronic Obstructive Pulmonary Disease in community among patients who participated in pulmonary rehabilitation program and Chronic Obstructive Pulmonary Disease patients who get normal care. Sample are 30 of Chronic Obstructive Pulmonary Disease patients who match with inclusion criteria. The sample were split into 2 groups, 15 of them were patients who get normal care and the others 15 were patients who participated in pulmonary rehabilitation program. Data gathering tools were personal interview form of Chronic Obstructive Pulmonary Disease illness of Chronic Obstructive Pulmonary Disease, risk factors of exacerbation, Health assessment, and dyspnea assessment form were include Dysnpea Visual Analague Scale; DVAS, Peak Flow Meter such as EFV1, PEF and blowing - sucking water bottom. When compare each dyspnea by Mann-Whitney U test, it have been found that samples who participated in pulmonary rehabilitation program compare samples who normal care was non-significant difference at .05. When assessment of DVAS, FEV1 and PEF but assessment of blowing-sucking water bottom found samples who get normal caring have dyspnea less than sample who get rahabilitation program was statistical significant difference at .01 (p-value = .002). Suggestion: should be developed pulmonary rehabilitation program and be pilot study before compare dyspnea of Chronic Obstructive Pulmonary Disease patients in community. th
dc.language.iso th th
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ th
dc.subject Lungs -- Diseases, Obstructive th
dc.subject ปอดอุดกั้น th
dc.subject Pulmonary disease, chronic obstructive th
dc.subject การฟื้นฟูสมรรถภาพ th
dc.subject Rehabilitation th
dc.subject การหายใจลำบาก th
dc.subject Dyspnea th
dc.title ผลของโปรแกรมการฟื้นฟูสมรรถภาพปอดเพื่อป้องกันการกำเริบของภาวะหายใจลำบากของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังในชุมชน th
dc.title.alternative Effects of Pulmonary Rehabilitation Program to Prevent Exacerbation in Patient with Chronic Obstructive Pulmonary Disease in Community th
dc.type Thesis th
dc.degree.name พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต th
dc.degree.level ปริญญาโท th
dc.degree.discipline การพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account