การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเอง และเปรียบเทียบความแตกต่างของพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล รวมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่อง โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงกับพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่มารับบริการสถานีอนามัยแห่งหนึ่ง ในตำบลบางเมือง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 210 คน ได้มาจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และเปรียบเทียบรายคู่ ด้วยวิธี LSD : Least Significant Difference และทดสอบความสัมพันธ์โดยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองโดย รวมอยู่ในระดับดี ในรายด้านทั้งด้านการควบคุมอาหาร ด้านการออกกำลังกาย ด้านการจัดการความเครียด ด้านการรักษา และการใช้ยา อยู่ในระดับดีกลุ่มตัวอย่างที่มีอาชีพ สถานภาพสมรส รายได้ต่อเดือน ต่างกัน มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพ ตนเองต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาเป็นโรคเบาหวานและความ ดันโลหิตสูงแตกต่างกัน มีพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
The aims of this descriptive research were to study and compare self-care behaviors of diabetic and hypertensive patients at a public health center in Bangmuang Subdistrict, Samutprakarn Province as classified by personal factors and to examine the relations of knowledge about diabetes and hypertension and self care behavior of diabetic and hypertensive patients. A total of 210 samples of diabetic and hypertensive patients received healthcare services at a public health center in Bangmuang Subdistrict, Samutprakarn Province were selected by using a purposive sampling. The research instruments were the questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s correlation coefficient, t-test, one way analysis of variance and comparison of different pairs using LSD: Least Significant Difference. The results showed that the self-care behaviors of diabetic and hypertensive patients were in a good level. When considering in each part, it was found that diet control, exercise, stress management, medication and medical attention were in good level. A comparison of the personal factors, the diabetic and hypertensive patients who were different in occupation, marital status and income per month held a different self-care behaviors with statistical significance at 0.05. However, gender, age, educational attainment, duration of the disease had not affected on self-care behavior. There is no relationship between self-care behavior and knowledge about diabetes and hypertension.