การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlational research) เพื่อศึกษาสถานการณ์และระดับความ เสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวานและเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วย โรคเบาหวาน ในโรงพยาบาลของเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดแผลที่เท้าในเครือข่ายหน่วยบริการปฐมภูมิ ในอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตำบล จำนวน 10 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 254 คน การหาความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ทั้งฉบับเท่ากับ 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ ร้อยละ 65.74 เป็นเพศหญิง มีอายุ มากกว่า 60 ปี ร้อยละ 59.84 การศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ร้อยละ 64.56 มีระยะเวลา การเกิดโรคในช่วง 5-9 ปีร้อยละ 45.28 และควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้ ร้อยละ 54.72 ผู้ป่วยได้รับการตรวจคัดกรองเท้า ร้อยละ 100 พบอาการชาที่เท้า ร้อยละ 6.69 ตรวจระดับความเสี่ยงในการเกิดแผลที่เท้า พบความเสี่ยงระดับ 1 ร้อยละ 3.54 ความเสี่ยงระดับ 2 ร้อยละ 5.51 ความเสี่ยงระดับ 3 ร้อยละ 4.72 และความเสี่ยงระดับ 4 ร้อยละ 0.39 การเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำแนกตามชนิดของแผล โดยรวมและทุกด้านอยู่ในระดับน้อยที่สุดโดยรวม คะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 1.08 (SD = 0.22) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านการเกิดแผลขาดเลือด มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เท่ากับ 1.14 (SD = 0.19) ส่วนด้านการเกิดแผลติดเชื้อ มีค่าเฉลี่ยต่ าสุด เท่ากับ 1.01 (SD = 0.11) การเกิดแผลที่เท้าของผู้ป่วยเบาหวานมี ความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กับปัจจัยรอยโรคของเท้า (r = 0.50) ในระดับปานกลาง และกับปัจจัยภายนอก (r = - 0.19) และปัจจัยพฤติกรรม (r = 0.12) ในระดับต่ำ
This correlational research aims to study the situation and the risk levels of foot ulcers in patients with diabetes and factors related to diabetic foot ulcers of Diabetic patients in the hospitals of primary health care service network, Prapadaeng district, Samut Prakarn Province. The sample of 254 diabetic patients were purposively selected from 10 of health promoting hospitals in primary health care service network, Prapadaeng district, Samut Prakarn Province. All questionnaires were tested for validity and reliability. Cronbach's alpha coefficient was used as a measurement to assess the reliability of the instruments. The results greater than 0.93 indicates acceptable reliability. The data were analyzed for frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson correlation. Research results were as follows: The results showed that most patients 65.74 percent are women, older than 60 years of 59.84 percent, primary education 64.56 percent, the period of disease in the last 5-9 years 45.28 percent, and non-control blood sugar54.72 percent, the patient has been screening foots100 percent, foots numbness 6.69 percent, detecting the risk of diabetic foot ulcers found: risk level 1 = 3.54 percent, risk level 2 = 5.51 percent, risk level 3 = 4.72 percent, risk level 4 = 0.39 Foot ulcers of diabetic patients, classified by type of wound, overall, the mean score were the least level 1.08 (SD = 0.22). When considering each aspect of ischemic lesions, the maximum mean score is 1.14 (SD = 0.19), wound infection at minimum mean score is 1.01 (SD = 0.11). The diabetic foot ulcer is correlation significance level of .05 with foot lesions factor is moderate level (r = 0.50), External factor (r = - 0.19) and behavioral factors (r = 0.12) in low level.