การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาระดับความผาสุกและความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางครอบครัวกับความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเพศหญิง ที่ได้รับการผ่าตัดเต้านมข้างที่เป็นออกทั้งเต้า และได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดอย่างน้อย 1 ครั้ง จำนวน 71 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการสนับสนุนทางครอบครัวและแบบสอบถามความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม ผู้วิจัยได้สร้างและดัดแปลงแบบสอบถามจากโชติกา โพธิ์ขอมและชฎาภา ประเสริฐทรง และคณะสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอาการข้างเคียงจากยาเคมีบำบัดมีระดับความรุนแรงปานกลาง ( x̄ = 2.83, S.D. = 0.48)ข้อที่มีคะแนนค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ผมร่วง (x̄ = 4.58, S.D. = 0.84) รองลงมาคือ ความวิตกกังวล ( x̄ = 4.39, S.D. = 0.90) และปวดเมื่อยตามร่างกาย (x̄ = 4.10, S.D. = 1.12) การสนับสนุนทางครอบครัวโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄= 4.25, S.D. = 0.62) กลุ่มตัวอย่างมีความผาสุกโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (x̄ = 3.82, S.D. = 0.39) พบความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางครอบครัวด้านทรัพยากร ด้านอารมณ์ ด้านสารสนเทศ และด้านกิจกรรมคลายเครียดกับความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับเคมีบำบัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ข้อเสนอแนะของการวิจัย ควรนำข้อมูลความสัมพันธ์ของการสนับสนุนทางครอบครัวไปใช้ในการสร้างโปรแกรมเพื่อส่งเสริมความผาสุกของผู้ป่วยมะเร็ง
The study was descriptive research. The purpose of research were to study level of well being, and to study the relationships between family support and well being of breast cancer patients who derived chemotherapy. The samples were breast cancer patients and mastectomy and treated with chemotherapy. A total of 71 samples were used in this study. The research instruments were the questionnaires about family support and well being. These questionnaires were created and adopted from Chotika Pokhom, Chadapa Praserttong and et al. The data were analyzed by using descriptive statistics such as frequency percentage mean standard deviation and Pearson’s product moment of correlation coefficient. The research found that the side effects of chemotherapy were moderate level (x̄ = 2.83, S.D. = 0.48). According to classified of the side effects, it was found that hair loss, anxiety and muscle pain were all symptoms at high level (x̄ = 4.58, S.D. = 0.84, x̄ = 4.39, S.D. = 0.90, x̄ = 4.10, S.D. = 1.12 respectively). The sample have well being at high level (x̄ = 3.82, S.D. =0.39). There was significantly statistical correlation between the family support and well being of breast cancer patients who derived chemotherapy at .01 level (p<.01). The recommendations of this study should to develop family supportive program for breast cancer patients who derived chemotherapy.