การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมสุขภาพในสตรีตั้งครรภ์แรก กลุ่มตัวอย่าง คือ สตรีตั้งครรภ์ที่รับบริการ ณ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 3 แห่ง ในอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือดำเนินการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 7 กิจกรรม ได้แก่ รู้ทันการณ์เมื่อท้อง สะกิดก่อนเข้า สกัดเลือกก่อนสาย เล่าสู่กันฟัง คิดให้ดีก่อนเลือกใช้ ตั้งเป้าแล้วไปให้ถึง และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามส่วนบุคคล และแบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ เครื่องมือผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามความรอบรู้ด้านสุขภาพ ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.87 นำไปทอสอบความเที่ยงตรง ได้ค่า KR-20 เท่ากับ 0.88 และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.88 แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ได้ค่า CVI เท่ากับ 0.82 นำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test
ผลการวิจัย พบว่า หลักการได้รับโปรแกรมการส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การส่งเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพมีผลทำให้สตรีครรภ์แรกนำไปสู่การมีความรู้ด้านพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้นโดยสามารถเข้าถึงข้อมูล รู้เท่าทันสื่อ มีความรู้ ความเข้าใจ ทำให้เกิดการวิเคราะห์และสามารถตัดสินใจเลือกการดูแลสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
This quasi-experimental research was to study the effects of promoting health literacy program toward health behaviors among the first pregnant women. The purposive sampling was used, which selected the first pregnant women who received services at three Sub-district Health Promotion Hospital, Bang Phli district, Samut Prakan province. There were 60 pregnant women, which divided into the control group and the experimental group. Each group consisted of thirty pregnant women. The experimental group would receive that program to promote health literacy and health behaviors and the control group received regularly standard nursing care. The research instruments consisted of a program to promote health literacy, which consisted of activity; awareness when pregnant, know before go to pregnant, extract before too late, tell each other, think wisely before choose, have some goals and go get them, and knowledge sharing. The data collection instruments were the personal questionnaire, and the health behaviors questionnaire. The content validity had been done by three experts, which the content validity index of the assessment form of health literacy was 0.87 and reliability of both KR-20 and Cronbach’s Alpha were 0.88. The health behaviors questionnaire was 0.82 and reliability was 0.85. Data were analyzed by using statistics such as percentage. Mean and standard deviation, paired t-test and independent t-test. The results of the research found that after receiving the Program to promote health literacy of the first-time pregnant women, the experimental group had a higher mean health behaviors among pregnant women than before receiving the program, at statistical significance <.001 and there had significantly higher average on health behaviors after receiving the program than the control group at .01 level. Promotion of health literacy would make first pregnant women be able to improve better knowledge on health behaviors, which make them be able to assess data, have consciousness on medical, have knowledge and understanding to analyze and decide appropriate and correct health care for themselves.