การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงภาคตัดขวาง (Cross – Sectional Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ ส่วนสูง น้ำหนัก BMI การสูบบุหรี่ ระดับการศึกษา การออก กำลังกาย การดื่มสุรา ประวัติการเจ็บป่วยกระดูกและกล้ามเนื้อในอดีต และปัจจัยในด้านการทำงาน ได้แก่ น้ำหนักใน การยก ระดับความสูงท้ายรถเก็บขยะ ระยะเวลาในการทำงาน ความถี่ในการทำงาน ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่ง งาน ลักษณะถังขยะกับระดับความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน กลุ่มตัวอย่างคือ พนักงานเก็บขยะ จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 70 คน โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล
ผลการศึกษาวิจัย พบว่า พนักงานเก็บขยะส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 97.14, อายุอยู่ในช่วง 40 – 49 ปี คิดเป็นร้อยละ 50.00, ส่วนสูงอยู่ในช่วง 161 – 170 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 57.14, น้ำหนักอยู่ในช่วง 65 – 78 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 34.29, ไม่ออกกำลังกาย คิดเป็นร้อยละ 74.29, ดื่มสุรา คิดเป็นร้อยละ 55.71, ดัชนีมวลกายอยู่ในช่วง 25.00 – 29.90 คิดเป็นร้อยละ25.71,การศึกษาระดับประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 62.86, สูบบุหรี่เป็น ประจำ คิดเป็นร้อยละ 67.14, ไม่มีการเจ็บป่วยทางกระดูกและกล้ามเนื้อในอดีต คิดเป็นร้อยละ 62.86, เป็นพนักงานยกและเทขยะ คิดเป็นร้อยละ 72.86, ประสบการณ์ทำงานอยู่ในช่วง 1 – 12 ปี คิดเป็นร้อยละ 71.14, ระยะเวลาในการทำงาน 8 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 77.10, ความถี่ในการทำงาน (ยก/เท) 1 – 400 ครั้ง/วัน คิดเป็นร้อยละ 62.86, น้ำหนักในการยกอยู่ในช่วง 13 – 19 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 65.71, ความสูงของท้ายรถเก็บขยะอยู่ในช่วง 101 – 106 เซนติเมตร คิดเป็นร้อยละ 40.00 จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในด้านการ ทำงานกับระดับความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน พบว่า ประวัติการเจ็บป่วยกระดูกและกล้ามเนื้อในอดีตและ ประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน ของพนักงานเก็บขยะ ตำบล แพรกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยการวิจัยในครั้งนี้สามารถเป็นแนวทางให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใช้เป็นข้อมูลในการปรับปรุงแก้ไขและป้องกันการเกิดความเสี่ยงจากท่าทางการทำงาน โดยให้ความรู้และสร้างความตระหนักเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงจากท่าทางการทำงานในปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
This research is a cross-sectional study aimed at studying the relationship between personal factors such as gender, age, height, weight, BMI (BOdy Mass Index), smoking, education level, physical activity, history of alcohol drinking, history of bone and muscle illness, and job factors such as lifting weight, rear loader garbage truck height, duration of operation, frequency of operation. work experiences, job position, and risk from work posture and levels of lifting and dumping bin. The sample consisted of 70 garbage collectors using questionnaires to collect data.
We found that most garbage collectors male (97.14%), age 40-49 years old (50.00%) and height between 161-170 centimeters (57.0%), weight in the range of 65-78 kilograms (34.29%), physical activity (74.29%), alcohol drinking (55.71%), BMI between 25 – 29.90 kg/m2 (25.71%), primary education (62.86%), regular smoking (67.14%), no history of bone and muscle illness (62.86%), most of the job are lifting and dumping bin(72.86%), work experience during 1-12 years (71.14%), duration of operation about 8-hour (77.10%), working frequency (lift/pour) 1-400 times per day (62.86%), lifting weight in the range of 13-19 kilograms per time (65.71%), rear loader garbage trunk height in the range of 101-106 centimeters (40.00%). The study has shown that risk factors related statistically significant (p<0.05) to work posture and the levels of lifting and dumping bin as well as having the history of bone and muscle injury and work experience. The results of garbage collectors in Phraek-sa subdistrict, Mueang Samut Prakan district, Samut Prakan province. can give information to improve work safety and prevent the occurrence of risks from work posture by providing knowledge and raising awareness in relevant factors.