DSpace Repository

การรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ : ศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author นพมณี นาคคง
dc.contributor.author Nopmanee Narkkong
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2024-12-01T04:11:34Z
dc.date.available 2024-12-01T04:11:34Z
dc.date.issued 1997
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3312
dc.description ภาคนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2540 en
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างพาณิชยกรรมและภาคบริการของลูกจ้างเอกชน ผู้ทำงานในเขตกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นลูกจ้างของกิจการ ห้างร้านในกรุงเทพมหานคร เขตชั้นนอก ชั้นกลาง และ เขตชั้นใน จำนวน 245 คน ใช้วิธีการสำรวจการรับรู้จากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยแบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิตามกฎหมาย 6 ฉบับ โอกาสและช่องทางในการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงาน ได้รับแบบสอบถามสมบูรณ์กลับคืนมา 245 ฉบับ จาก 300 ฉบับ และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อการศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า 1. มีการรับรู้แตกต่างกันไปตามข้อกฎหมายที่กำหนดไว้ 6 ฉบับ คือ กฎหมายคุ้มครองแรงงาน มีการรับรู้ค่าเฉลี่ยเพียง 12 ข้อ จาก 23 ข้อ กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ มีการรับรู้เฉลี่ย 0.77 ข้อ จาก 1 ข้อ พระราชบัญญัติประกันสังคม มีการรับรู้เฉลี่ย 2.19 ข้อ จาก 5 ข้อ พระราชบัญญัติกองทุนเงินทดแทน มีการรับรู้เฉลี่ย 2.15 ข้อ จาก 4 ข้อ พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์มีการรับรู้เฉลี่ยเพียง 0.53 ข้อ จาก 1 ข้อ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มีการรับรู้เฉลี่ย 0.71 ข้อ จาก 1 ข้อ 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้สิทธิตามกฎหมายของลูกจ้างในภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ พบว่า เพศ รายได้ ระดับการศึกษา และอาชีพ มีความสัมพันธ์กับการรับรู้สิทธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยด้านการรับข้อมูลข่าวสารที่มีผลต่อการรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ พบว่า กลุ่มตัวอย่างอาศัยการดูโทรทัศน์เป็นตัวกลางในการรับข้อมูล ทั้งข่าวสารทั่วไปและข่าวสารด้านกฎหมายแรงงาน แต่มิได้มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้สิทธิเลย สื่อที่มีประสิทธิผลในการรับรู้กฎหมายแรงงานของลูกจ้างสูงสุด คือ หนังสือกฎหมายแรงงาน ผลการวิจัยครั้งนี้ พบประเด็นที่พิจารณาเป็นข้อเสนอแนะได้ดังนี้ ในเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศและโอกาสทางการศึกษา ควรให้มีการเปลี่ยนแปลงค่านิยม ทัศนคติ ต่อแรงงานหญิง โดยเริ่มจากการกระจายโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันในสถานศึกษา ควรเพิ่มหลักสูตรกฎหมายแรงงานเบื้องต้นสำหรับลูกจ้าง ตั้งแต่ระดับชั้นประถมศึกษา ส่วนในเรื่องช่องทางการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ หรือสร้างความรู้ความเข้าในเรื่องกฎหมายแรงงานนั้น ควรเป็นหน้าที่ของสื่อบุคคล ควบคู่ไปกับสื่อมวลชน โดยสื่อบุคคล ที่มีความสำคัญต่อแรงงาน คือ นายจ้างหรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลที่มีอำนาจและถือกฎระเบียบของสถานประกอบการอยู่ แรงงานจะให้ความเชื่่อฟังมากกว่าสื่อบุคคลอื่นๆ ส่วนสื่อมวลชน ควรใช้ความนิยมและความกว้างขวางของเป้าหมายให้เกิดประโยชน์ โดยการสร้างสรรค์รายการที่มีสาระทางด้านการคุ้มครองสวัสดิภาพแรงงาน มากกว่าเน้นหนักนำเสนอ แต่รายการภาคบันเทิงเพียงอย่างเดียว en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject กฎหมายแรงงาน en
dc.subject Labor laws and legislation en
dc.subject การรับรู้ en
dc.subject Perception en
dc.subject สิทธิลูกจ้าง en
dc.subject Employee rights en
dc.subject ลูกจ้าง en
dc.subject Labour en
dc.subject การคุ้มครองแรงงาน en
dc.subject Labor -- Employee protection en
dc.title การรับรู้สิทธิตามกฎหมายแรงงานของลูกจ้างภาคพาณิชยกรรมและภาคบริการ : ศึกษาเฉพาะกรณีลูกจ้างเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Commercials and Service Labour's Perception on Labour Rights according to Labour Laws en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account