Abstract:
การศึกษาระดับสุขภาพจิตพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ปรากฏอาการปัญหาสุขภาพจิตบ้างพอสมควร โดยอยู่ในวิสัยที่สามารถแก้ไขได้ ปัญหาที่พบที่สำคัญ คือ ความเครียดไม่อยากเล่นหรือยุ่งเกี่ยวกับเพื่อนฝูง ความรู้สึกกลัวโดยไม่ทราบสาเหตุ ความเกรงกลัวการถูกลงโทษจากครู การบังคับตนเองไม่ได้ และความลำบากในการตัดสินใจด้วยตนเองการศึกษาพบว่ามีปัจจัย 2 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับสุขภาพจิตของนักเรียน คือ เพศ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษา สถานภาพสมรสของผู้ปกครอง และระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน โดยนักเรียนที่มีระดับคะแนนเฉลี่ยดี คือ นักเรียนที่มีบิดามารดาอยู่ร่วมกัน และนักเรียนที่ใช้เวลาในการเดินทางจากบ้านมาโรงเรียนน้อย จะมีภาวะสุขภาพจิตที่ดีกว่า ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะเพื่อลดปัจจัยที่มีผลต่อภาวะสุขภาพจิตของนักเรียน โดยการสร้างเสริมการเอาใจใส่ให้เวลาบุตรธิดาของผู้ปกครอง การจัดกิจกรรมร่วมระหว่างโรงเรียน และผู้ปกครอง เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นักเรียน การให้ความสนใจแก่นักเรียนกลุ่มพิเศษ การปรับปรุงบทบาทของครูและการอำนวยความสะดวกด้านรถรับส่งนักเรียน พร้อมทั้งให้โรงเรียนจัดให้มีพระสงฆ์เข้ามาอบรมด้านจริยธรรม และศีลธรรม เพื่อขัดเกลานิสัย พฤติกรรม และเป็นการส่งเสริมสุขภาพจิตที่ดีของนักเรียนด้วย ข้อเสนอแนะงานวิจัยครั้งต่อไป ควรทำการเปรียบเทียบสุขภาพจิตในแต่ละโรงเรียนโดยการศึกษาเจาะลึกเฉพาะกลุ่มนักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพจิต รวมถึงศึกษารูปแบบกระบวนการให้คำแนะแนวของแต่ละโรงเรียนและการติดตามศึกษากลุ่มนักเรียนอย่างต่อเนื่องจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6