การวิจัยเชิงทำนายมีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถของปัจจัยในการพยากรณ์พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุระหว่าง 60 -74 ปี จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ การรับรู้ความสามารถของตนเอง ผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรม อิทธิพลระหว่างบุคคล อิทธิพลของสถานการณ์ และแบบสอบถามพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยของสุขภาพ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ .881, .879, .798, .721, .858, และ .891 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์สัมประสิทธ์ถดถอยพหุคุณแบบ Stepwise
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพในภาพรวมอยู่ในระดับดี ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง และอิทธิพลของสถานการณ์สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพ ได้ร้อยละ 38.60 โดยปัจจัยที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการชะลอความเสื่อมถอยทางสุขภาพได้สูงที่สุด
The objective of the predictive research is to study the ability of factors to predict health promotion behaviors that delay the health deterioration of older people. The sample group consisted of 148 elderly people between the ages of 60 to 74. The research instrument was a questionnaire on perceived benefits of action, perceived barriers to action, perceived self-efficacy, activity-related affect, interpersonal influences, situational influences, and a health-promoting behavior to delay the deterioration of the health questionnaire. The Cronbach alpha coefficients were .881, .879, .798, .721, .858, and .891, respectively. The data were analyzed using descriptive statistics and Stepwise multiple regression coefficient analysis.
The research results found that the sample had an overall average score of health promotion behaviors in delaying health deterioration at a good level. Self-efficacy factors and situational influences can together predict health promotion behavior in delaying health deterioration at 38.60%, with the self-efficacy factors that can explain the highest variance in health promotion behavior in delaying health deterioration.