การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (cross sectional research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับคุณภาพการนอนหลับของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายโรงเรียนแห่งหนึ่งในเขตลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 4-ม. 6) จำนวน 362 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การเข้าถึงสื่อออนไลน์ และแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับที่ประยุกต์จาก The Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI ของ Pittsburgh โดยผลตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item-Objective Congruence; IOC) อยู่ระหว่าง 0.9-1.0 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาค (Cronbach Alpha Coefficient) เท่ากับ 0.72 ตามลำดับ วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยสุขนิสัยการนอนหลับกับคุณภาพการนอนหลับโดยใช้สถิต Chi Square test และ Exact test
ผลการวิจัย พบว่านักเรียนมีคุณภาพการนอนหลับไม่ดี (<= 11 คะแนน) ร้อยละ 60.8 มีระยะเวลาในการนอนหลับน้อยกว่า 9 ชั่วโมงในแต่ละคืนร้อยละ 63.0 มีสุขนิสัยการนอนอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 60.5 และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ กิจกรรมที่เข้าใช้สื่อออนไลน์ และ สุขนิสัยการนอนหลับ ทางโรงเรียนและผู้ปกครองควรส่งเสริมให้มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอโดยเฉพาะเพศหญิง กำกับควบคุมระยะเวลาในการใช้สมาร์ทโฟน และให้ความรู้สุขนิสัยการนอนที่ดี
This cross sectional research aims to study the sleep quality and factors related to sleep quality of high school students at a school in Lat Krabang District, Bangkok Province. The sample group consists of 362 high school students (Mathayom 4-6). The research instrument was a questionnaire in 3 parts consisting of personal information, access to social media, and sleep quality assessment form applied from the Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI of Pittsburgh. The results of the content validity check resulted in the Index of Item-Objective Congruence (IOC) between 0.9-1.0 and the Cronbach Alpha Coefficient equaling to 0.72. Analysis of the relationship between personal factors, healthy factor of sleep habits and sleep quality using the Chi Square test and Exact test statistics.
The results found that 60.8 percent of students had poor sleep quality (<= 11 points), and 63.0 percent had less than 9 hours of sleep each night.