การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 4 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ของเด็กและเยาวชน 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ของเด็กและเยาวชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านเพื่อน 4) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดของเด็กและเยาวชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านครอบครัวปัจจัยด้านเพื่อน และความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ เด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชน 4 แห่ง จำนวน 151 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ทำการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ (Statistical Package for the Social Sciences; IBMSPSS Statistics 26) โดยใช้สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean)ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(One-Way Analysis of Variances: One-Way ANOVA) โดยทดสอบความแตกต่างแบบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ (Scheffe’ test)ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เพศชาย (ร้อยละ 86.75) อายุ 18 ปี (ร้อยละ 29.14)เรียนจบชั้น ป.6 (ร้อยละ 58.94) ไม่ได้ประกอบอาชีพ (ร้อยละ 64.90) บิดามารดาแยกกันอยู่ (ร้อยละ37.74) มีพี่น้อง 2 คน (ร้อยละ 33.77) เป็นบุตรคนที่หนึ่ง (ร้อยละ 52.32) มีผู้ปกครองเป็นมารดา (ร้อยละ33.11) ผู้ปกครองมีอาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 43.05) พักอาศัยอยู่กับมารดา (ร้อยละ 25.17) และที่พักอาศัยเป็นบ้านตายาย (ร้อยละ 20.53) มีเพื่อนสนิทที่มีพฤติกรรมเสี่ยงพหุลักษณะ (ร้อยละ 19.21) ไม่เคยเป็นเด็กที่ได้รับการสงเคราะห์ (ร้อยละ 97.35) ไม่เคยได้รับการคุ้มครองสวัสดิภาพ (ร้อยละ 96.69) ไม่เคยทราบเรื่องกฎหมายคุ้มครองเด็ก (ร้อยละ 80.13) ถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก (ร้อยละ 49.01) และกระทำความผิด พ.ร.บ.ยาเสพติดฯ (ร้อยละ 62.25)เด็กและเยาวชนมีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 อยู่ในระดับปานกลาง( = 15.43) มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดอยู่ในระดับต่ำ ( = 1.78) เด็กและเยาวชนที่มีระดับการศึกษาและลักษณะเพื่อนสนิทต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546แตกต่างกัน เด็กและเยาวชนที่มีอาชีพ ลักษณะเพื่อนสนิท และฐานความผิดต่างกัน มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการกระทำผิดแตกต่างกัน
This research has four objectives: 1) to study children and youth's knowledgeabout the Child Protection Act B.E. 2003, 2) to study children and youth's risky behaviortowards delinquency, 3) to study and compare knowledge about the Child ProtectionAct B.E. 2003 for children and youth classified according to personal factors, familyfactors and peer factors 4) to study and compare behaviors at risk for delinquencyamong children and youth classified according to personal factors, family factors, peerfactors and knowledge about the Child Protection Act B.E. 2003. The sample group usedin the study included 151 children and youth in 4 child and youth training and trainingcenters, using questionnaires as a tool for collecting data. Data were processed andanalyzed with the Statistical Package for the Social Sciences (IBM SPSS Statistics 26) usingstatistics: Frequency, Percentage, Mean, Standard Deviation, and One-Way Analysis ofVariances (One-Way ANOVA) by testing pairwise differences using the Scheffe'.The results of the study found that the majority of the sample were male(86.75%), 18 years old (29.14%), completed grade 6 (58.94%), not working (64.90%),parents living separately (37.74%), having two siblings (33.77%), being the first child(52.32%), having a parent who is the mother (33.11%), the parents have employment job(43.05%), living with the mother (25.17%), and a place to stay living in grandparents'house (20.53%), had close friends with various risky behaviors (19.21%), had never beena child receiving assistance (97.35%), had never received welfare protection (96.69%).They never knew about child protection laws (80.13%), were prosecuted for the firsttime (49.01%), and committed an offense Narcotics Act (62.25 percent). Children and youth know the Child Protection Act B.E. 2003 in a moderate level( = 15.43). Their risky behaviors for committing offenses are at a low level ( = 1.78).Children and youth with different levels of education and characteristics of close friendswill have dissimilar knowledge about the Child Protection Act B.E. 2003. Children andyouth with disparate occupations, close friends, and offenses have different behaviors atrisk of committing crimes.