การวิจัยเรื่องการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียว 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนความเสี่ยงความต้องการวางแผนจำหน่ายกับการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน 3) เพื่อศึกษาข้อมูลด้านวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย ค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของการนำรูปแบบการวางแผนจำหน่ายไปใช้โดยแยกตามกลุ่ม DRG นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ. 2550 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยอายุรกรรมที่เข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในหอผู้ป่วยสามัญหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 56 ปีขึ้นไป จำนวน 30 ราย นับตั้งแต่ 10 กันยายน ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 รวมระยะเวลา 16 สัปดาห์ ขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมในโรงพยาบาลหัวเฉียว เป็นการพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายโดยนำรูปแบบวางแผนจำหน่าย A-B-C มาประยุกต์ใช้ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอน A: Assessment ประกอบด้วยการประเมินปัญหาความเสี่ยงและความต้องการการดูแลของผู้ป่วยภายหลังจำหน่าย ขั้นตอน B: Building a Plan การสร้างแผนจำหน่ายผู้ป่วย ประกอบด้วยการกำหนดปัญหาของผู้ป่วย การวางเป้าหมาย ทีมผู้รับผิดชอบ ระยะเวลาในการดำเนินการ ขั้นตอน C: Confirming the Plan การยืนยันแผนจำหน่ายผู้ป่วย ประกอบด้วยการปฏิบัติตามแผนกิจกรรม และการประเมินผลกิจกรรมการวางแผนจำหน่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินสภาพแรกรับและคัดกรองความเสี่ยงเพื่อการวางแผนจำหน่าย 2) แบบบันทึกแผนการดูแลเพื่อการดูแลต่อเนื่อง 3) แบบบันทึกคะแนนความเสี่ยงเพื่อการวางแผนจำหน่าย 4) แบบบันทึกวันนอนโรงพยาบาล 5) แบบบันทึกค่ารักษาพยาบาล 6) แบบบันทึกการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน ระยะที่ 2 ศึกษาความสัมพันธ์ของคะแนนความเสี่ยงความต้องการวางแผนจำหน่ายกับการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน โดยแสดงข้อมูลของกลุ่มตัวอย่าง แบ่งตามอายุและหัวข้อปัจจัยความเสี่ยงแสดงเป็นร้อยละ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้ Pearson Chi-Square ระยะที่ 3 ศึกษาข้อมูลด้านวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยค่ารักษาพยาบาลเฉลี่ยของการนำรูปแบบการวางแผนจำหน่ายไปใช้โดยแยกตามกลุ่ม DRG นำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลย้อนหลัง ในช่วงเดือนมกราคม-สิงหาคม พ.ศ. 2550 โดยใช้สถิติ T-test ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยอายุรกรรมในลักษณะ A-B-C เป็นรูปแบบที่เน้นกระบวนการพยาบาลเป็นระบบ ความสัมพันธ์ระหว่างระดับคะแนนความเสี่ยงความต้องการวางแผนจำหน่ายกับการกลับมารักษาซ้ำใน 28 วัน โดยไม่ได้วางแผน พบว่า มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยรักษาพยาบาลและวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยของกลุ่มก่อนการใช้รูปแบบสูงกว่ากลุ่มหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ข้อเสนอแนะ 1. พัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วย โดยหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเสี่ยงในการวางแผนจำหน่ายแต่ละด้านนำไปพัฒนาหาคะแนนความเสี่ยงในแต่ละปัจจัยความเสี่ยงให้เหมาะสมของกลุ่มผู้สูงอายุ โดยเก็บตัวอย่างมากพอที่จะเป็นตัวแทนกลุ่มประชากร เพื่อเป็นคะแนนความเสี่ยงของแต่ละปัจจัยที่เหมาะสมกับผู้ป่วย 2. การวัดประสิทธิภาพการพัฒนาการรูปแบบวางแผนการจำหน่าย สามารถใช้ดัชนีชี้วัดในด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติ วัดระดับความสามารถในการดูแลตนเองได้ คะแนนคุณภาพชีวิตภายหลังการจำหน่าย ซึ่งขึ้นกับกลุ่มผู้ป่วยที่จะศึกษา
This is a research and development on the discharge plan model development of Medicine Department, Huachiew Hospital, with following objective: 1) To develop the discharge plan model in the Medical Department, Hua Chiew Hospital. 2) To study on the relationship between the risk score, the discharge plan requirement, and the readmission within 28 days without planning. 3) To study the information on the average of length of stays and the average cost of treatment, applying the discharge planning model classified by the Diagnosis Related Group (DRG), compared to the retrospective study in January-August 2007. Sample Group: The sample group focused only on 30 medical patients who admitted in the lady ordinary ward aging from 56 years and up, period September 10 to November 30, 2007, totaling 16 weeks. Research phase: The research has three stages as following: Phase 1: The Discharge Plan Model Development of Medicine Department, Hua Chiew Hospital is to develop the discharge planning model. The discharge plan model A-B-C is to be developed along with the nursing process in three steps. Step A : Assessment - This is comprised of the risk problem assessment and the requirement on the patient caring after the discharge. Step B: The discharge plan buidling is composed of the patient problem prescription, the objective determination, the resonsible team, proceeding period, and the stages. Step C : The discharge plan confirmation consists of the activity plan pursuance, and the discharge plan activity assessment. Research tool id composed of : 1) Admission assessment form; the risk securitization, and the discharge plan; 2) Tending plan record for caring. 3) Assessment record on discharge-plan risk score. 4) Record on the length of stays. 5) Cost of treatment record. 6) Readmission within 28 days without planning record; showing the sample group information, classified by their age, and the risk factor, showing in percentage analyzing the relationship adopting the Pearson Chi-Square. Phase 3: Study the information on the mean of length of stay, and the average cost of treatment, applying the discharge planning model classified by the Diagnosis Related Group (DRG), compared to retrospective study in January-August 2007, using the T-test. The study showed that, Discharge Planning Model in Medical Patients of characteristic A-B-C is a integrating model of nursing process systemic. The relationship between the risk score level, the discharge plan requirement and the readmission within 28 days without planning, was found that there is a relationship with a implicit statistic at the level of 0.05. Average of length of stays, and the average cost of treatment : The group prior to using the model was higher than the group adopting the model, with a difference of implicit statistic at the level of 0.05. Suggestion : 1) Develop the discharge planning model by finding the relationshop between the risk factor in each facet of discharge plan. This should be developed to find the risk score in each risk factor, suitable to the senile group. There must be sufficient information to represent the populace, in becoming the risk score of each factor suitable to the patient. 2) The efficacy measurement on the discharge plan model development can be done through the measurement indicator on the satisfaction of the patients and relatives, measurement on the capacity level in the daily life, and the life quality score after the discharge, depending on the group of patients under the study.