การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ร่วมกับนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 2 และ 3 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ จำนวน 122 คน คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่ายจากบัญชีรายชื่อนักศึกษาพยาบาลที่อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุในช่วงสถานการณ์ระบาดของโคโรนา 2019 เก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนพฤษภาคม 2563 เครื่องมือวิจัย มี 3 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้สูงอายุ 2) แบบประเมินปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม และ 3) แบบประเมินพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ทุกข้อคำถามมีค่าความตรง (IOC) ตั้งแต่ 0.50 และมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้แก่ แบบประเมินปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) เท่ากับ .863 (การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ เท่ากับ .814 การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ เท่ากับ .824 การรับรู้ความสามารถของตนเอง เท่ากับ .721 อิทธิพลระหว่างบุคคล เท่ากับ .857 อิทธิพลจากสถานการณ์ เท่ากับ .729) และแบบประเมินพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) เท่ากับ .764 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า ผู้สูงอายุไทยมีการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติอยู่ในระดับสูง (M=2.53, SD =.47) การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติอยู่ในระดับต่ำ (M=0.98, SD = .71) การรับรู้ความสามารถของตนเองอยู่ในระดับสูง (M=2.40, SD=.55) อิทธิพลระหว่างบุคคลอยู่ในระดับปานกลาง (M=1.44,SD=.58) อิทธิพลจากสถานการณ์อยู่ในระดับสูง (M=2.27, SD = .54) และมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) อยู่ในระดับดี (M = 2.18, SD = .50) ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติ (Beta = .200, p =.011) ปัจจัยการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติ (Beta = -.189, p=.002) ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Beta = .313, p=.000) ปัจจัยอิทธิพลระหว่างบุคคล (Beta = .193, p=.004) และปัจจัยอิทธิพลจากสถานการณ์ (Beta =.212, p=.007) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุได้ร้อยละ 61.20 (R2 = .612, Adjusted R2 = .595, p=.000) โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพในการป้องกันการติดเชื้อโคโรนา 2019 (โควิด 19) ของผู้สูงอายุมากที่สุด คือ ปัจจัยการรับรู้ความสามารถของตนเอง (Beta = .313, p=.000)
This research aimed to study factors affecting the health promotion behaviors and Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention of older person. Samples were 122 older person who lived with the 2nd and 3rd year of nursing students, Faculty of Nursing, Huachiew Chalermprakeit University selected by the sample random sampling technique using the nursing students list who lives with older person during the Coronavirus disease 2019 (COVID-19) period. The sample size was estimated using G*Power. The data were collected during May 2020. The research instruments were 1) the questionnaire asking general information of respondents, 2) the questionnaire asking factors affecting the health promotion behaviors for Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention, and 3) the assessment of the health promotion behavior for Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention. All research instruments were validated in terms of the content validity by five experts in the field, all questions have an IOC value from 0.50. The reliability of research instruments, by considering the Cronbach's alpha of the questionnaire asking factors affecting the health promotion behaviors for Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention were .863 (Perceived benefits of action =.814, Perceived barriers to action =.824, Perceived self-efficacy=.721, Interpersonal influences =.857, Situational influences =.729) and the assessment of the health promotion behaviors for Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention is 764. The quantitative data were analyzed by descriptive statistics and the multiple regression. The result found that the older person perceived benefits of action at a high level (M=2.53, SD=.47), perceived barriers to action at a low level (M=0.98, SD=.71), perceived self-efficacy at a high level (M=2.40, SD = .55), interpersonal influences at a high level (M=1.44, SD=.58), situational influences (M=2.27, SD=.54) and had a high level of the health promotion behaviors and Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention (M=2.18, SD=.50), Perceived benefits of action (Beta=.200, p=.011), Perceived barriers to action (Beta =-.189, p=.002), Perceived self-efficacy (Beta =.313, p=.000), Interpersonal influences (Beta = .193, p=.004), and Situational influences (Beta = .212, p=.007). All factors could predict the health promotion behavior and Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention of older person at 61.20 percentage (R2 = .612, Adjusted R2 =..595, p=.000) whereas Perceived self-efficacy was the greatest factor affecting the health promotion behaviors and Coronavirus disease 2019 (COVID-19) prevention of older person. (Beta=.313, p=.000)