การวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้เกี่ยวกับยาพาราเซตามอลในอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการ 377 คน สุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2565 ทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติ Independent t-test และ One-way ANOVA
ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับยาพาเซตามอลในระดับมาก ได้คะแนนเฉลี่ยคิดเป็น 12.13 +- 3.42 คะแนน จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ประเด็นคำถามที่ตอบผิดมาก 3 อันดับแรก คือ ประเด็นเกี่ยวกับขนาดยา 2 ข้อ (ตอบผิดร้อยละ 73.47 และ 38.20) และประเด็นเกี่ยวกับการป้องกันการได้รับยาซ้ำซ้อน (ตอบผิดร้อยละ 36.60) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นและไม่เป็นอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นมีความรู้เรื่องขนาดวิธีใช้ยา และข้อควรระวัง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p<0.001 และ 0.010 ตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านที่มีระยะเวลาในการเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขที่แตกต่างกัน มีความรู้เกี่ยวกับยาพาราเซตามอลไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p-value = 0.232 สรุปได้ว่า ความรู้เกี่ยวกับยาพาราเซตามอลของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในจังหวัดสมุทรปราการอยู่ในระดับมาก แต่ควรสร้างการตระหนักรู้เพิ่มเติมในเรื่องขนาดยาและการป้องกันการได้รับยาซ้ำซ้อนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ยาพาราเซตามอลมากขึ้น
This survey research aimed to investigate levels of knowledge of paracetamol among village health volunteers in Samut Prakan Province. The sample was 377 village health volunteers in Samut Prakan Province selected by accident sampling. The questionnaire was performed to collect data during October to November 2022. Hypotheses were tested by an independent t-test and a one-way ANOVA.
The results showed that the subjects had a high level of knowledge about paracetamol and had an average score of 12.13 +-3.42 points out of a total of 15 points. The top 3 wrong answers were 2 close-related issued (Wrong answers: 73.47% and 38.20%) and issues related to the prevention of double drug exposure (wrong answers 36.60%). The hypothesis with an independent t-test, it was found that the samples of caregiver community Volunteers and non-caregiver community Volunteers had statistically significant different paracetamol knowledge on doses and precautions (p<0.001) and 0.010, respectively). While testing knowledge of paracetamol it was found that the sample of village health volunteers with different durations of being health volunteers has no statistically significant difference (p=0.232). In conclusion, the paracetamol knowledge of village health volunteers in Samut Prakan province was at a high level. However, more awareness should be raised on dosage and to prevention of double drug exposure to ensure the safety of using paracetamol.