ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบหัวใจและหลอดเลือดสูง การศึกษาวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยงจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป มีค่าความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท อาศัยในเขตพื้นที่การดูแลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางปลา อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้จำนวน 160 คน เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนของผู้ป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ทดสอบ Chi-square test วิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก Odds ration และ 95% confidence intervals
ผลการศึกษาพบว่า มีความแตกต่างของความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดในระดับเสี่ยงสูงถึงสูงมาก เพศหญิง ร้อยละ 2.50 เพศชาย ร้อยละ 8.10 (p<0.001) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นผู้หญิง มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป 65 คนคิดเป็นร้อยละ 40.60 มีค่า ดัชนีมวลกาย ระดับอ้วน ในเพศหญิงร้อยละ 49.40 เพศชายร้อยละ 15.60 (p=0.002) เพศชายมีการสูบบุหรี่ร้อยละ 8.10 (p<0.001) ดื่มสุราร้อยละ 17.50 (p<0.001) ในผู้หญิงเส้นรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร ร้อยละ 55.60 ชายเส้นรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 13.80 (p<0.001) ในเพศหญิงค่า HDL น้อยกว่า 40 mg/dl ร้อยละ 24.40 ในเพศชาย HDL น้อยกว่า 50 mg/dl ร้อยละ 5.60 (p<0.015) กลุ่มตัวอย่างยังมีภาวะเมตตาบอลิคซินโดรมแตกต่างกัน เพศหญิง ร้อยละ 39.40 เพศชายร้อยละ 10.60 (p<0.002) และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดพบว่า เพศหญิงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจมากกว่าเพศชายร้อยละ 17.65 (OR=17.65, 95%CI = 2.91-106.95) และกลุ่มตัวอย่างที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ไม่สูบบุหรี่ ร้อยละ 0.09 (OR = 0.09, 95%CI = 0.01-0.79) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษานี้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการส่งเสริมสุขภาพเพื่อลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด
Hypertensive patients have risks of complications in cardiovascular disease. The objective of this cross-section analytical study focused on factors related to cardiovascular diseases risks among hypertensive patients. The sample was composed of hypertensive patients who had risks of heart disease and coronary heart disease, wer 35 years old and above, with blood pressure equal to or higher than 140/90 mmHg and lived in the service area of Bang Pla Health Promoting Hospital, Bang Phli district, Samutprakan province. There were 160 participants in the sample and data were collected from the patients’ medical records. Data were analyzed by using mean percentage, chi-square, logistic regression odds ratio, with 95% confidence intervals.
The study found that the differential risks of cardiovascular diseases were high, being 2.50% in women and 8.10% in mean (p<0.001). The sample comprised of 65 women over 60 years old, according for 40.60% of the total. The BMI indicated overweight status in 49.40% of women and 15.60% of men (p=0.002). Among the subjects, 8.10% of men smoked (p<0.001) and 17.50% drank alcohol (p<0.001). Women with a waist circumference greater than 80 cm made up 55.60%, while men with a waist circumference greater than 90 cm made up 13.80% (p<0.001). Additionally, 24.40% of women had an HDL level less than 40 mg/dl, compared to 5.60% of men with an HDL level less than 50 mg/dl (p=0.015). The prevalence of non-communicable diseases (NCD) was 39.40% in women and 10.60% in men (p=0.002). Factors related to cardiovascular risk found that women had a higher risk of cardiovascular disease than men at 17.65% (OR=17.65, 95% CI=2.91-106.95). Smoking was associated with a higher risk of cardiovascular disease compared to non-smoking at 0.09% (OR=0.09, 95% CI = 0.01-0.79), which was statistically significant. This study can be used for health promotion to reduce the risk of cardiovascular disease.