ปัจจุบันในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครมีการก่อสร้างอุโมงค์จำนวนหลายแห่งล้วนเป็นการก่อสร้างที่อยู่ในเขตชุมชน มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบถึงระดับเสียงกระแทกจากเครื่องจักรก่อสร้าง กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางเดินลอดถนนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและเปรียบเทียบความแตกต่างระดับเสียงกระแทกของเครื่องจักรก่อสร้างต่อชุมชนใกล้เคียงขณะมีและไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงกระแทก Lc,peak 5 min กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559 ด้วยมาตรวัดระดับเสียงชนิด Integrating Sound Level ในระยะก่อสร้างงานฐานราก เป็นเวลา 8 ชั่วโมง รวม 7 วัน บริเวณพื้นที่ก่อสร้างและชุมชนรวม 4 จุด รวมข้อมูลทั้งหมด 756 ข้อมูลต่อจุด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าต่ำสุด (Min) ค่าสูงสุด (Max) และค่าเฉลี่ย (x̅ ) ใช้สถิติเชิงอนุมาน Independent t-test วิเคราะห์ข้อมูลความแตกต่างระหว่างกลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบระดับเสียงกระแทก Lc,peak 5 min บริเวณพื้นที่ก่อสร้าง Area A พบว่า ในช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้างโครงการ มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 99.9 dB(C) บริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง Area A มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 103.7 dB และบริเวณชุมชนใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง ช่วงที่ไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่าระดับเสียงกระแทกเฉลี่ยเท่ากับ 103.3 dB (C) เมื่อทดสอบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย Lc,peak 5 min บริเวณชุมชนใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P<.001) และค่าเฉลี่ย Lc,peak 5 min บริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้างระหว่างช่วงที่มีและไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง พบว่า ไม่แตกต่างกันเนื่องจากพื้นที่ภายนอกในชุมชนมีรถสัญจรไปมาเป็นครั้งคราว เนื่องจากมีการปิดถนน มีเพียงรถยนต์เจ้าหน้าที่ภายในโครงการ รถจักรยานยนต์ และรถบรรทุกที่เข้าออกภายในโครงการก่อสร้าง Area B ช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่า Lc,peak สูงสุด 134.6 dB (C) ภายในบริเวณพื้นที่ก่อสร้างมีค่าเฉลี่ย Lc,peak 5 min สูงกว่าบริเวณชุมชนใกล้พื้นที่ก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P < .001) และค่าเฉลี่ย Lc,peak 5 min ในชุมชนระหว่างช่วงที่มีกิจกรรมการก่อสร้าง มีค่าสูงกว่าช่วงที่ไม่มีกิจกรรมการก่อสร้าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (P <.001) ดังนั้น ควรมีการเฝ้าระวังหรือทำการออกแบบมาตรการลดเสียงกระแทกที่เกิดจากการตอกเสาเข็ม การขุดเจาะพื้นคอนกรีตที่เหมาะสมเพื่อป้องกันเสียงที่เกิดจากการทำงานไม่ให้มีระดับเสียงเพิ่มมากขึ้น การใช้วัสดุขับแรงกระแทกในหน้างาน และลดเสียงที่ทางผ่านของเสียง โดยใช้กำแพงกันเสียง (Noise barrier) เพื่อให้เสียงจากการทำงานออกสู่ชุมชนภายนอกน้อยลง
At present, in Bangkok, many tunnels are being build, all of which are in urban areas with densely populated populations. This research studied the impact of impulse noise from construction machinery. A case study of a road tunnel construction project in Bangkok and compare the difference in the impulse noise level of construction machinery to nearby communities with and without construction activities. Impulse noise level (LC, peak 5 min) according to the 2016 A.D. standards of ministerial regulations for management and performance safety measurements were performed by integrating sound level meters during foundation construction for 8 hours, for a total of 7 days at the construction area and in the community (total of 4 stations). Data were analyzed using descriptive statistics, including minimum, maximum, and mean. The differences between groups were analyzed using the independent t-test inferential statistics. The results of the Area A study showed that the average of LC peak 5 min in the community near the construction site with statistical significance at the .001 level (P <.001). The difference between the average of LC, peak 5 min in the community near the construction site during with and without construction activity was found to be no different and during the construction period of Area A, the highest LC peak was 134.6 dB (C). Area B in the construction site had an average of LC, peaking 5 minutes higher than the community near the construction site with statistically significance at the .001 level. The difference between the average of LC peak 5 min in the community neat the construction site during with and without construction activity showed that during the construction activity period, the average of LC peak 5 min was higher than the period of inactivity with statistical significance at the .001 level and during the construction period of Area A, the highest LC peak was 133.6 dB (C). Therefore, there should be monitoring or measurement to reduce impulse noise from pile drivers and concrete floor drilling, which could decrease the noise levels.