การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลวในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ และศึกษาผลของการปรับลดปัจจัยเสี่ยงชนิดเปลี่ยนแปลงได้ ในกลุ่มตัวอย่างข้าราชการทหารอากาศที่มีความเสี่ยงสูงอย่างต่อเนื่องเกิน 2 ปี ต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ คือเกิน ร้อยละ 20 ในสิบปีข้างหน้า ซึ่งประเมินจากเครื่องมือการคัดกรองความเสี่ยง modified Coronary Risk Chart (mCRC) เพศชาย จำนวน 10 คน การศึกษาแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของความล้มเหลวในการลดปัจจัยเสี่ยงด้วยการสอบถามพฤติกรรมการปฏิบัติ 5อ. ประกอบด้วย อาหาร อากาศ โอสถ ออกกำลังกาย อารมณ์ และระยะที่สอง เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดกลุ่มเดียวก่อนและหลังการให้ความรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลพฤติกรรมการปฏิวัติ 5 อ. ระหว่างผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่าง และสมาชิกในครอบครัวที่ให้การดูแลตามโปรแกรมการปรับลดปัจจัยเสี่ยงที่นำสมาชิกครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยประเมินปัจจัยเสี่ยงจากผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ ระดับน้ำตาลในเลือด ไขมัน (โคเลสเตอรรอล ไตรกลีเซอรไรด์ HDL) และค่าความดันโลหิตตัวบนรวมทั้งพฤติกรรมเสี่ยง 5อ. ผลการศึกษากลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 55.2 ปี ร้อยละ 70 ทำงานนั่งโต๊ะ มีปัจจัยเสี่ยง คือ ไขมันในเลือดสูง ร้อยละ 80 ความดันโลหิตสูง ร้อยละ 60 เบาหวาน ร้อยละ 40 สูบบุหรี่ ร้อยละ 30 และออกกำลังกายน้อยกว่าสองครั้งต่อสัปดาห์ ร้อยละ 90 สาเหตุของความล้มเหลวในการลดปัจจัยเสี่ยง คือ ขาดความรู้ความเข้าใจในการปรับลดพฤติกรรมเสี่ยง ได้แก่ การรับประทานอาหาร เนื้อสัตว์ไขมันสูง และของหวาน ร้อยละ 100 ขาดการออกกำลังกาย ร้อยละ 90 สูบบุหรี่หรืออยู่ในสถานที่มีการสูบบุหรี่ ร้อยละ 40 มีอารมณ์เครียด ร้อยละ 30 ภายหลังได้รับโปรแกรมการปรับลดปัจจัยเสี่ยงฯ พบว่า กลุ่มตัวอย่างสามารถลดความเสี่ยงลงเหลือระดับปานหลาง ร้อยละ 10-20 ในสิบปี 5 ราย ร้อยละ 50 และระดับต่ำร้อยละ 5 ในสิบปปี 1 ราย ร้อยละ 10 ปัจจัยเสี่ยงที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระดับโคเลสเตอรอล p=0.005 และระดับน้ำตาลในเลือด p=0.01 สำหรับพฤติกรรมเสี่ยง 5อ. มีคะแนนเฉลี่ยดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p=0.005
The purposes of this research are to find the cause and to seek a better way of coronary risk reduction. The study are divided in two parts, the descripttive study; to define the cause of failure in risk reduction and the Quasi-experimental study; to analyze the result of applying 8-week Family Partnership Intervention Program (FPIP) in asymptomatic Air Force officers. Results of pre and post intervention are ccompared in two areas; the behavioral risk factors which are divided in five areas, dietary habit, smoking cessation, stress, exercise and medication and the level of biochemical valures include; fasting blood glucose, total cholesterol triglyceride and HDL cholesterol. The population study are 10 male asymptomatic Air Force officers who had high (>20%) persistent predicted CVD risk by modified Coronary Risk Chart (mCRC) at least two consecutive years. Study results: The average age of candidates is 55.2 years. Most of them (70%) had sedentary work. The common major risk factor are, hypercholesterolemia (cholesterol >200 mg/dl), 80%, high blood pressure (BP>140/90 mmHg), 60%, Diabetes Mellitus 40% smoking 30% and exercise less than twice week 90%. The major cause of risk reduction failure are lacking of knowledge in having heart healthy life style inculde having high animal fat and sweet diet 100%, exercise 90%, smoking or secondary smoker 40%, mental stress 30%. After 8-week of FPIP program, most of high coronaty risk participants (70%) are able to lower their risk down to 10-20% (50%) and 5010% (10%). The observed statistical sinificant reduction of biochemical variables are total cholesterol p=0.005 and fasting blood glucose p=0.01. Behavioral risk in five area p=0.005.