การวิจัยเชิงบรรยายครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดกับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่ง จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความวิตกกังวลและความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไค-สแควร์ และสถิติสหสัมพันธ์เสปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดส่วนใหญ่มีระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 54.92 ความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิดส่วนใหญ่อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 52.65 ซึ่งมีความต้องการมากที่สุดเกี่ยวกับบทบาทของผู้ป่วย (x̄=2.07, S.D.=0.79) สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการข้อมูล ได้แก่ เพศ และรายได้ โดยที่เพศมีความสัมพันธ์กับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 เพศหญิงมีความต้องการข้อมูลในระดับมากและมากกว่าเพศชายคิดเป็นร้อยละ 71.30 ด้านรายได้พบว่ามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำกับความตัองการข้อมูลในผู้ป่วยก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=-.147) ส่วนอายุ อาชีพ ระดับการศึกษาและประสบการณ์การผ่าตัดที่เคยได้รับ (p>.05) ไม่มีความสัมพันธ์กับระดับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดและความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความต้องการข้อมูลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยผ่าตัดหวัใจแบบเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (r=.213) ข้อเสนอแนะจากการศึกษา ควรนำผลการวิจัยมาเป็นแนวทางในการพัฒนาการให้ข้อมูลก่อนผ่าตัดหัวใจแบบเปิด เพื่อตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้ป่วย ช่วยลดระดับความวิตกกังวล และเกิดผลลัพธ์ที่ดีหลังผ่าตัดหัวใจ
The purpose of this descriptive research was to examine the relationships of personal factors and preoperative anxiety preoperative information needs of open heart surgery patients. A purposive sampling of 264 preoperative open heart surgery patients from a tertiary hospital. Data were collected by using the questionnaire of Anxiety and information needs of preoperative open heart surgery patients. Data were analyzed by descriptive statistics Chi-square and Spearman rank correlation coefficient. Result show that the majority of preoperative anxiety was in moderate level (54.92%). The Majority of Preoperative information needs was in high level (52.65%), the most of information needs about patient role information. (x̄=2.07, S.D.=0.79). The relationships between sex and preoperative information needs of open heart surgery patients were significant. (x[square]=20.972, p<.001). The majority of female have more information needs than male in high level of 71.3 percent. The relationships between income and preoperative information needs of open heart surgery patients were significant and low negative. (r=-.147, p<.05). There was not significant relationships between age, occupation, education level and previous surgical experience (p>.05) with preoperative information needs of open heart surgery patients. The relationships between preoperative anxiety and preoperative information needs of open heart surgery patients were significant and low positive. (r-.213, p<.001). The result should be used as a guideline for preoperative open heart surgery patients, to meet the real needs of patients, help lower anxiety and good outcome postoperative open heart surgery.