การศึกษาวิจัยนี้นำเสนอปัจจัยที่มีผลต่อรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนของประเทศไทยข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาในการวิจัยครั้งนี้ อาศัยข้อมูลทุติยภูมิ (secondary data) เป็นหลักเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลสถิติทุติยภูมิใน พ.ศ. 2525-พ.ศ. 2552 รวม 28 ปี เพื่อวิเคราะห์ในภาพรวมของประเทศ จากผลการวิจัยพบว่ารายจ่ายสุขภาพของภาคเอกชน ขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยด้านอุปสงค์ ได้แก่ ตัวแปรด้านสังคมและด้านสุขภาพ ส่วนปัจจัยด้านอุปทาน ได้แก่ ตัวแปรด้านทรัพยากรสุขภาพ จะเห็นได้ว่ารายจ่ายสุขภาพภาคเอกชน นั้นขึ้นอยู่กับทั้งปัจจัยด้านอุปสงค์และอุปทานเป็นสำคัญ โดยตัวแปรที่ผลักดันอุปสงค์ของบริการรักษาพยาบาลให้เพิ่มขึ้น ได้แก่ ความหนาแน่นของชุมชนเมือง การเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ ปริมาณการสูบบุหรี่ จำนวนการเกิดโรคเรื้อรังของประชากร ตัวแปรเหล่านี้ส่งผลให้ภาคเอกชนมีอุปสงค์ต่อบริการรักษาพยาบาลสูงขึ้น นอกจากนั้น รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนยังขึ้นอยู่กับปัจจัยด้านอุปทาน ได้แก่ เทคโนโลยีสุขภาพซึ่งวัดจากจำนวนเครื่องมือแพทย์ราคาแพง รวมทั้ง จำนวนแพทย์ และจำนวนเตียงในภาคเอกชน ตัวแปรเหล่านี้ล้วนแต่ส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพของภาคเอกชนเพิ่มสูงขึ้น
This quantitative research analyzed factors affecting private health expenditure in Thailand using secondary data from 1982 to 2009. It was found that private heath expenditure level depended not only on demand-side factors including social variables (density of community and number of aging people) and health variables (number of smoking people and number of patients in chronic diseases), but also on supply-side factors which was health resource variables (healthcare technology, number of physicians, and number of beds in private hospital).