การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพของพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนต่อความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติของครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า เป็นการศึกษากึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ของอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี จำนวน 30 คน และจับคู่ตามระดับการศึกษา จากนั้นสุ่มอย่างง่ายเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มทดลอง จัดทำโดยการเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ กลุ่มควบคุม จัดทำโดยการได้รับกิจกรรมการรักษาพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถาม ประกอบด้วยข้อมูลส่วนบุคคลของครอบครัวผู้ดูแล ความรู้ในการดูแล ผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า 2) โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การเก็บข้อมูลอยู่ระหว่างเดือนมิถุนาย-สิงหาคม 2557 ผลการวิจัยพบว่า 1. ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ (กลุ่มทดลอง) มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ (กลุ่มควบคุม) มีความรู้และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน ส่วนทัศนคติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า พบว่า ก่อนและหลังการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่เข้าร่วมโปรแกรมให้ความรู้ทางสุขภาพ (กลุ่มทดลอง) มีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า แตกต่างจากครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพ (กลุ่มควบคุม) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการวิจัยครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าการใช้โปรแกรมการให้ความรู้ทางสุขภาพกับครอบครัวผู้ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า สามารถส่งเสริมให้ครอบครัวผู้ดูแลมีความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าดีขึ้น
The purposes of this research was to study the effect of community nurse practitioner's health educational profram on the knowledge, attitude and practice in family caregivers of patients with depression. This study was a quasi-experimental study which consisted of family caregivers of patients with depression in Khlog Luang district, Pathum Thani province. Thirty samples were match according to education and then using simple random sampling method into an experimental group and a control group. Each group had 15 family caregivers. The experimental group had been participated in the health educational program. The controlled group had been received treatment as an usual nursing activities. The research instruments were 1) a questionnaire containing personal information about family caregivers, knowledge in the care of patients with depression, attitude in the care of patients with depression and practices in the care analysis including percentage, mean, standard deviation and t-test. Data collection had done during June-August 2014. The result results were as follows: 1. Family caregivers of patients with depression, who praticipated in the health educational program (experimental group) on the knowledge, attitude and practice in the care of patients with depression, were significantly different before, who did not participate in the health. 2. Family caregivers of patients with depression who did not participate in the health education program (control group) on the knowledge and practices in the care of patients with depression were not significantly different before and after receiving usual nursing activities. The attitude in the care of patients with depression before and after experimental were different at a statistically significant level at .o1 level.