การศึกษาเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูง และ 2) ค้นหาปัจจัยทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงชาวไทยมุสลิมจํานวน 80 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กําหนด เก็บข้อมูลระหว่างเมษายน–สิงหาคม 2561 เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และหาค่าความเชื่อมั่นด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟา ทั้งฉบับได้ 0.85 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.2 อายุเฉลี่ย 60.57 ปี (S.D. = 12.97) มีประวัติคนในครอบครัวเจ็บป่วยด้วยโรคทางพันธุกรรมร้อยละ 96.7 ค่าดัชนีมวลกายอยู่ในระดับอ้วน ร้อยละ 37.2 มีพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับดี (x̅ = 3.44, S.D. = 0.47) ปัจจัยที่สามารถทํานายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูง ประกอบด้วยอิทธิพลระหว่างบุคคล (beta = 0.43) รองลงมา คือ อายุ (beta = 0.061) ดัชนีมวลกาย (beta = -0.045) การรับรู้อุปสรรค ในการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ (beta = -1.611) และการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรม ส่งเสริมสุขภาพ (beta = 0.014) ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมส่งเสริม สุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 23.0 (R2 = 0.23, F= 6.858, p < . 001)ข้อเสนอแนะ ควรนําปัจจัยด้านอิทธิพลระหว่างบุคคลมาเป็นพื้นฐานในการส่งเสริมสุขภาพของชาวไทยมุสลิมที่มีภาวะความดันโลหิตสูงให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต
This descriptive research aimed to identify 1) the study of health promoting behaviors among Thai Muslim with hypertension and 2) explore the factors that predicted health promoting behaviors among Thai Muslim with hypertension. The samples were 80 Thai Muslim with Hypertension. Samples were purposively selected according to the specific qualifications. Data were collected from April to August, 2018. The questionnaire was validated by the experts and test reliability by coefficient alpha of 0.85. The data was analyzed by mean, standard deviation, and Multiple Regression Analysis. The results showed that the samples were female 75.2%, mean age 60.57 years (SD = 12.97). There is 96.7% having family history of genetic disorder and 37.2 % were obese. Health promotion behaviors were a good level (x̅ = 3.44, S.D. = 0.47). Predictors of health promoting behaviors of Thai Muslims with hypertension were followed by interpersonal influence (beta = 0.43), age (beta = 0.061), body mass index (beta = -0.045), perceived barriers to health promoting behaviors (beta = -1.611) and perceived benefits of health promoting behaviors (beta = 0.014). All factors could explain health promoting behaviors of Thai Muslim with hypertension about 23.0% of the variance (R2= 0.23, F = 6.858, p < .001). This study suggested that interpersonal influences factor could be the basis for promoting a healthy way to fit the lifestyle of the Thai Muslim.