การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) แบบภาคตัดขวาง (cross sectional study) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งของประชาชน ในชุมชนตำบลสำโรง อำเภอพระประแดงจังหวัดสมุทรปราการ สุ่มกลุ่มตัวอย่าง ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่า Index of item Objective Congruence (IOC) ทุกข้ออยู่ระหว่าง 0.67-1.00 มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม สิ่งชักนำให้เกิดการปฎิบัติ แบบสอบถามแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็ง เท่ากับ 0.78, 0.71, 0.70 และทั้งฉบับ เท่ากับ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งชักนำให้เกิดการปฎิบัติกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งและแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน(Pearson Correlation Coefficient)ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนในชุมชนตำบลสำโรง 1) พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็ง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (x̅ = 3.31, SD = 0.43) 2) สิ่งชักนำให้เกิดการปฎิบัติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x̅= 3.45, SD = 0.36) 3) แรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค โดยรวมอยู่ในระดับมาก (x̅ = 3.65, SD = 0.49) 4) สิ่งชักนำให้เกิดการปฎิบัติและแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคมีความสัมพันธ์เชิงบวกระดับต่ำกับพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็ง (r = .17, p = <.01 และ r = .18, p = <.01 ตามลำดับ
This research is a survey research and cross-sectional study aims to study the situation and Factors Related to Cancer Prevention Behaviors of People in Community, Samrong Sub-district, Phra Pradaeng District, Samut Prakarn Province Random the sample size is 377. The instrument used is a questionnaire that has been validated by 3 experts. All Index of item Objective Congruence (IOC) is between 0.67-1.00 of the questionnaire. There is a confidence value of the questionnaire. Cues to Action, The Motivation to Prevent Disease questionnaire and Cancer Prevention Behavior questionnaire were 0.78, 0.71, 0.70 and 0.80 respectively. For Data analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. Relationship analyzed between Cues to Action with Cancer Prevention Behavior and The Motivation to Prevent Disease with Cancer Prevention Behavior by Pearson Correlation Coefficient statistics. The results showed that people in Samrong Subdistrict Community 1) Total Cancer Prevention Behavior at a moderate level (x̅ = 3.31, SD =0.43) 2) Cues to Action at a moderate level ( x̅ = 3.45, SD = 0.36) 3). The Motivation to Prevent Disease at a high level (x̅ = 3.65, SD = 0.49). 4) Cues to Action and The Motivation to Prevent Disease were positively correlated with Cancer Prevention Behavior (r = .17, p = <.01 and r = .18, p = <.01 respectively