การศึกษานี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อประเมินผลของ โปรแกรมป้องกันการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมป้องกันการสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส และค่า SDPTG Aging Index กลุ่มตัวอย่าง คือชาวนาที่อาศัยในอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เลือกโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 53 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 27 คน และกลุ่มเปรียบเทียบจำนวน 26 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมโดยประยุกต์แนวคิดการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม พฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช มีค่าความเที่ยง 0.74 ร่วมกับวัดระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสในซีรั่มโดยกระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส และประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ค่า SDPTG Aging Index ทั้งก่อนและหลังการทดลอง ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมป้องกันการรับสัมผัสสารกาจัดศัตรูพืช กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมป้องกันการรับสัมผัสสารกาจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้นกว่าก่อนทดลอง และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ และระดับเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรสของกลุ่มทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนทดลอง และค่าความเสี่ยงขอ งการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดลดลงกว่าก่อนทดลองและลดลงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันการรับ สัมผัสสารกำจัดศัตรูพืช ช่วยป้องกันการได้รับสาร กาจัดศัตรูพืชเข้าสู่ร่างกาย และอาจส่งผลต่อการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มชาวนาไทย
A quasi-experimental study was designed to determine the effects of a pesticides exposure prevention program on pesticide protective behaviors, serum cholinesterase level and the second derivative finger photoplethysmogram (SDPTG) aging index. The subjects were 53 rice farmers in Amphoe KhlongKhung KamphaengPhet province, 27 in the intervention group and 26 in the comparison group. The experimental group has received a pesticide exposure prevention program based on Pender’s health promotion concept. The changes of pesticide protective behaviors assessed by questionnaire with 0.74 of Cronbach’s Alpha coefficient, serum cholinesterase level (ChE) measured by reactive paper and cardiovascular risk evaluated by SDPTG aging index between pre-intervention and post-intervention were examined. In the experimental group, means of pesticide preventive behavior score and of ChE level after the intervention were significantly higher whereas the SDPTG-aging index was significantly lower than before intervention. Compared to the comparison group, score of the pesticide preventive behaviors was significantly higher and index of cardiovascular risk was significantly lower among the experimental group. In conclusion, the results showed that this pesticide prevention program can prevent pesticide exposure which may result in reducing cardiovascular risk among Thai rice farmers.