การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากและความสัมพันธ์ของแรงจูงใจเพื่อการป้องกัน ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรงของโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรค ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการป้องกันโรค และความคาดหวังในความสามารถของตนเองต่อการป้องกันโรค กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ ในตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 330 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ศึกษาระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน (Spearman rank correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดี ( x̄ = 3.54, SD = 0.30) ในรายด้านพบว่า ด้านการทำความสะอาดช่องปาก ด้านพฤติกรรมการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพช่องปาก และด้านการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพช่องปากอยู่ในระดับดี ( x̄ = 3.55, 3.43, 3.84 และ SD=0.35, 0.37, 0.38) ตามลำดับ ส่วนด้านการเข้ารับบริการทันตกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ( x̄ =2.99, SD=0.87) การรับรู้ความรุนแรงของโรคในช่องปาก การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปาก ความคาดหวังในความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 (r=0.450, 0.468, 0.163, 0.245, p-value<0.01) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่าพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุสัมพันธ์กับระดับแรงจูงใจเพื่อการป้องกัน
The objectives of this cross-sectional descriptive research were to study the oral health care behaviors and to study the association between protection motivation including the perceived severity of oral diseases, perceived susceptibility of oral diseases, expectation towards results of oral health care practices and expectation towards self-efficacy in practicing oral health care and oral health care behaviors among the elderly people in Bangsaothong Sub-District Bangsaotong District, Samutprakarn Province. The sample included 330 elderly people with least 60 years of age who were selected by using systematic random sampling. The questionnaire was used as a research tool for data collection. The study was conducted between August December 2018. Statistics used for analyzing data were frequency, percentage, mean, standard deviation, and Spearman’s rank correlation analysis.The findings revealed that the level of oral health care behaviors of the elderly were at a high level ( x̄ = 3.54, SD=0.30). In each component of the oral health, the result found that the oral cleaning, dietary habit for oral health, and avoiding the behaviors which cause negative influence on oral cavity were at a high level ( x̄ = 3.55, 3.43, 3.84, SD=0.35, 0.37, 0.38). But the use of dental services was at a moderate level ( x̄ =2.99, SD=0.87). The association between the perceived severity of oral diseases, perceived susceptibility of oral disease, expectation towards results of oral health care practices and expectation towards self-efficacy in practicing oral health care was positively correlated with oral health care behaviors of the elderly at statistically significant of 0.05 (r=0.450, 0.468, 0.163, 0.245, p-value<0.01). The results of this research suggested that better oral health behavior of the elderly was associated with level of protection motivation.