การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้าน การใช้แอปพลิเคชันไลน์และการพยาบาลตามปกติ ต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองและค่าความเข้มข้นของเลือดของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก แบ่งเป็นกลุ่มละ 25 ราย ในแผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลสมุทรปราการ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ โปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายตามทฤษฎีการพยาบาลของคิงด้วยการเยี่ยมบ้านและการใช้แอปพลิเคชันไลน์ รวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลตนเองเพื่อลดภาวะโลหิตจาง ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาได้ค่า IOC เท่ากับ 0.76 และทดลองใช้มีค่ําสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค เท่ากับ 0.78 ดำเนินการทดลองภายหลังได้รับการรับรองจริยธรรมจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติและโรงพยาบาลสมุทรปราการ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน Wilcoxon Signed Rank test และ Kruskal-Wallis ที่ระดับการมีนัยสำคัญทางสถิติ < .05 ผลการวิจัยพบว่าหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มีภาวะโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็ก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการใช้แอปพลิเคชันไลน์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองและมีค่าความเข้มข้นของเลือดสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายด้วยการเยี่ยมบ้านและกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< .01)
This quasi-experimental research aimed to compare the effects of transactional program by home visit, application LINE and normal routine nursing care on self-care behaviors and hematocrit in adolescent pregnant woman with iron deficiency anemia in antenatal care of Samutprakan hospital. There were 25 participants in each group. The research tools used to do transactional program was based on King’s theory using home visit and LINE application. Instruments included self-care behavior questionnaire; its content validity IOC was 0.76 and Cronbach's alpha coefficient was 0.78. Data were analyzed using frequency distribution, percentage, median, Wilcoxon Signed Rank test, and Kruskal-Wallis test. Significance level was set at p< .05. The results revealed that adolescent pregnant women with iron deficiency anemia in the group receiving target transactional program using LINE application had better self-care behavior and hematocrit than those with home visit and the normal routine nursing care group (p< .01).