งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนาการประกอบการเพื่อสังคมสู่นวัตกรรมชุมชนคนรักษ์บางเสาธง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดตั้งการประกอบการเพื่อสังคมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) พัฒนาความเข้มแข็งของการประกอบการเพื่อสังคมระหว่างคนดั้งเดิมกับคนมาอยู่ใหม่ให้มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน และ 3) พัฒนานวัตกรรมชุมชนในรูปแบบกระบวนการการประกอบการเพื่อสังคมโดยมีผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. การศึกษาการจัดตั้งการประกอบการเพื่อสังคมในพื้นที่อำเภอบางเสาธง โดยการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชนทั้งคนดั้งเดิมและคนมาอยู่ใหม่เกิดการต่อยอดค่านิยมเดิมในพื้นที่คือ “การให้เพื่อสังคม” ไปสู่การประกอบการเพื่อสังคม มีแกนนำเข้าร่วมก่อตั้งองค์กรประกอบการเพื่อสังคมจำนวน 30 คน ให้ชื่อองค์กรว่า “กลุ่มรักษ์บางเสาธง”2. การพัฒนาความเข้มแข็งของการประกอบการเพื่อสังคมของกลุ่มรักษ์บางเสาธง เริ่มจากสิ่งที่แกนนำและชุมชนทำอยู่แล้วต่อยอดด้วยแนวคิดการประกอบการเพื่อสังคม ลงมือปฏิบัติและเรียนรู้ร่วมกันคณะกรรมการกลุ่มมีความสามารถในการวางแผน ดำเนินการ ติดตามและประเมินผลการประกอบการของตนเองผ่าน 2 กิจกรรม คือ (1) การส่งเสริมให้สมาชิกปลูกและบริโภคผักปลอดสารในครัวเรือน แบ่งปันในชุมชน สร้างประโยชน์ให้ 255 ครัวเรือนมีความมั่นคงทางอาหารในช่วงวิกฤตการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 และ (2) การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มได้มีประสบการในการจัดการการผลิตจำหน่าย และบริหารจัดการความเสี่ยงด้านการตลาด มีผลกำไรแบ่งมาจัดตั้งกองทุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางสะสมได้ 10,000 บาท ช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางได้ 35 ราย3. เกิดนวัตกรรมชุมชนในรูปแบบกระบวนการการประกอบการเพื่อสังคม คือ (1) การต่อยอดวัฒนธรรมการให้เพื่อสังคมของชุมชนบูรณาการกับการประกอบการเพื่อสังคมเข้า (2) แกนนำมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้วยสร้างอุดมการณ์นำลงมือปฏิบัติ (3) มีวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมพัฒนาให้เกิดพลังขับเคลื่อนทางสังคมในกลุ่มและเคลือข่าย มีการหนุนเสริมช่วยเหลือกันระหว่างกลุ่มและประสานความร่วมมือกับภาคีในชุมชนและนอกชุมชน (4) ใช้กระบวนการติดตามประเมินผลลัพธ์เพื่อการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่องผลการดำเนินการโดยภาพได้สร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ฟื้นฟูและพัฒนาต่อยอดวัฒนธรรมการการให้เพื่อสังคม ให้มีศักยภาพการช่วยเหลือที่สูงขึ้น มีกลุ่มแกนนำรวมตัวเป็นเครือข่ายขับเคลื่อนอุดมการณ์ความรักษ์ในเพื่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม สมาชิกปัจเจกบุคคลสามารถช่วยเหลือตนเองให้มีความมั่นคงทางอาหาร รายได้ และเกิดวัฒนธรรมการเอื้ออาทรไม่ทอดทิ้งกันระหว่างสมาชิกในชุมชน และลดความเหลื่อมล้ำด้วยการมีกองทุนช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางในชุมชน
This study is an action research on the development of social enterprise towardscommunity innovation in the context of Bangsaothong conservation community.The objectives of this research are: 1) to examine the establishment of social enterprisewith community participation, 2) to enhance the strength of social enterprise betweenoriginal and new residents to promote good relationships, and 3) to develop communityinnovation in the form of social enterprise process. The research findings can besummarized as follows:1. The study examined the establishment of social enterprises in the Bangsaotongdistrict with the participation of community leaders, both original residents and incomingresidents, resulting in the continuation of traditional values in the area of "SocialContribution" evolving into social enterprise. Thirty community leaders participated in theformation of a social enterprise organization named "Rak Bangsaothong." 2. The development of the resilience of social enterprises within the BangsaothongConservation Group began with existing leadership and community efforts that were builtupon through the concept of social enterprise. The group engaged in collaborative learningand practical implementation to enhance their abilities to plan, implement, monitor, andevaluate their own operations. The group's committee demonstrated proficiency in theseareas through two specific activities as follows: (1) the promotion of the cultivation andconsumption of organic vegetables in households, sharing with the community,and creating benefits for 255 households to have food security during the COVID-19pandemic outbreak and (2) the group has experienced success in managing production,sales, and marketing risk in the distribution of community products and the profitsgenerated were allocated to establish a fund to assist vulnerable groups, resulting in a fundof THB 10,000 which has aided 35 individuals from marginalized groups.3. A community innovation in the form of a social enterprise process includes:(1) the extension of community cultural values for social philanthropy in collaborationwith social enterprise, (2) transformational leaders who cultivate a mindset of actionorientedleadership, (3) a team-oriented working culture that develops social momentumwithin the group and network, with mutual support and collaboration between groups and coordination with the community and beyond, and (4) the use of a process of monitoringand evaluation to promote continuous learning and development.Overall, the operations have strengthened the community, restored and developedcultural practices for social contribution, and increased potential for higher levels ofassistance. Leaders have come together as a network to drive a mentality of preservinghuman beings and the environment. Individual members can assist themselves in achievingfood security, income stability, and cultural preservation among community members,reducing inequality through a fund to aid vulnerable groups in the community.