การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพและปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัดแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยอยู่ในชุมชนบ้านแบบ แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร จำนวน 87 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้สูงอายุ ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ และพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ที่ได้รับผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน ได้ค่า CVI ของแบบสอบถามทั้ง 2 ฉบับ เท่ากับ 0.80 และนำไปทดสอบได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ .743 และ .742 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมในระดับดี (x̄=3.15, S.D. =0.27) และจากการวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด พบว่า ปัจจัยที่ร่วมกันทำนายพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนแออัด ได้แก่ การรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อการสร้างเสริมสุขภาพ อิทธิพลระหว่างบุคคลต่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการรับรู้ประโยชน์ต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ร้อยละ 47.10 (R[square]=0.490, Adjusted R[square]=0.471, P(F Change)=.010)
This research aimed to study heath promotion behaviors and factors predicting health promoting behaviors in elderly people. The sample consisted of elderly people aged 60 years and over. Residents living in Banbab Village, Sathorn District, Bangkok, collected 87 people. Data were collected by using questionnaire consisting of 3 parts: Part 1 Personal information of the elderly. Parts factors predicting health promoting behaviors in elderly and Part 3 the behaviors health of the elderly. Pass the validation check Content oriented from 3 experts and CVI = 0.80. The Cronbach's alpha coefficient is equal to .743 and .742. The data is analyed by mean, standard deviation and multiple regression analysis. The results shoewd that the sample group had good overall health promotion behaviors (x̄=3.15, S.D. =0.27) and from the analysis of the predictive variables affecting health promotion behaviors of the elderly in the community Congestion found that predictable variables were interpersonal influences on perceived self-efficacy, interpersonal influences and perceived benefits of action. All factors can predict the health promotion behaviors of the elderly in crowded communities by 47.10 percent (R[square]=0.490, Adjusted R[square]=0.471, P(F Change)=.010).