การศึกษาวิจัย เรื่อง การสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นบางเสาธงเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนผ่านหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง เพื่อสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นและมีทักษะการสร้างสรรค์สื่อจากทุนวัฒนธรรม 2) เพื่อศึกษาผลการใช้กิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง และ 3) เพื่อนำเสนอหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง เพื่อสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นและมีทักษะการสร้างสรรค์สื่อจากทุนวัฒนธรรม เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ การวิจัยระยะที่ 1 สัมภาษณ์ผู้อำนวยการโรงเรียนกลุ่มบางเสาธง และสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาหลักสูตรกับครูระดับมัธยมศึกษา ครูภูมิปัญญา ปราชญ์ชาวบ้าน และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลมากำหนดแนวทางพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น การวิจัยระยะที่ 2 พัฒนาร่างหลักสูตรท้องถิ่นแบ่งเป็น2 หลักสูตร คือ 1) ร่างหลักสูตรท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษา และ 2) ร่างหลักสูตรฝึกอบรม ทดลองใช้หลักสูตรท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษารายวิชารัก(ษ์) บางเสาธง กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดหัวคู้ และทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมกิจกรรมเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง กับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ศึกษาอยู่ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 กลุ่มบางเสาธง โดยมีนักเรียนที่อาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมจำนวน 30 คน การวิจัยระยะที่ 3ศึกษาผลการใช้และนำเสนอข้อมูลหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์สำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง โดยผลการใช้หลักสูตรท้องถิ่นสำหรับสถานศึกษา รายวิชารัก(ษ์) บางเสาธง นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และผลการเปรียบเทียบเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยหลักสูตรท้องถิ่นรัก(ษ์) บางเสาธง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 ซึ่งนักเรียนมีความเห็นต่อการดำเนินการหลักสูตร โดยภาพรวมในระดับมาก(x̄ = 4.18) การใช้หลักสูตรฝึกอบรมกิจกรรมเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมสำหรับเยาวชนในอำเภอบางเสาธง นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้สร้างสรรค์สื่อสิ่งพิมพ์ดิจิทัล วีดิทัศน์ ตราสัญลักษณ์ ลวดลายจากทุนทางวัฒนธรรม และผลิตภัณฑ์ ผลการวัดเจตคติต่อท้องถิ่นของนักเรียนภายหลังที่เข้าร่วมกิจกรรมหลักสูตรฝึกอบรมออนไลน์ผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนวัฒนธรรมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.23) โดยเจตคติต่อท้องถิ่นบางเสาธงมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.25) ผู้วิจัยได้นำเสนอหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นและทักษะการผลิตสื่อสร้างสรรค์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมประเมินความเหมาะสมในการนำหลักสูตรท้องถิ่นรัก(ษ์) บางเสาธง และกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ไปใช้อย่างยั่งยืนภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.84) โดยมีคะแนนประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ คะแนน ประเมินความเหมาะสมในการนำหลักสูตรท้องถิ่นรัก(ษ์) บางเสาธงไปใช้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด(x̄ = 4.83) คะแนนประเมินความเหมาะสมในการนำหลักสูตรฝึกอบรมกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ไปใช้อย่างยั่งยืนอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.85) และคะแนนประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมประชุมคืนข้อมูลการใช้หลักสูตรภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.90) โดยมีคะแนนประเมินอยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการการประเมินผลกระทบทางสังคม (SROI) มูลค่าการลงทุนหลักสูตรท้องถิ่นและกิจกรรมการเรียนรู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวนทั้งสิ้น 289,855.07 บาท สามารถสร้างมูลค่าผลประโยชน์จากการลงทุน จำนวน 1,200,501.45 บาท เมื่อนำมาคำนวณการประเมินผลกระทบทางสังคมเทียบกับเงินลงทุนดำเนินการ จำนวน 1 บาท จะได้ผลตอบแทนทางสังคม SROI = 4.14 บาท สรุปได้ว่าเป็นโครงการที่น่าลงทุน นักเรียนเกิดความภาคภูมิใจ มีจิตสำนึกรักท้องถิ่นบางเสาธง และมีทักษะผลิตสื่อสร้างสรรค์จากทุนทางวัฒนธรรม ครูได้ถ่ายทอดความรู้หลักสูตรท้องถิ่นเพื่อสร้างจิตสำนึกรักท้องถิ่นบางเสาธง
The research study on “Enhancing of the local consciousness for children and youth development through local curriculum and creative media creation learning activity”.The purposes of this research were 1) to develop a local curriculum and a training curriculumto promote creative media creation skills from cultural capital of Bangsaothong, Samut Prakarn. 2) to study the results of the curriculum and 3) to present the curriculum to stakeholders. The research was divided into three phases: 1) Interview the school directors and survey of the needs for curriculum development with Bangsaothong teachers.2) Develop the curriculum. 3) Study the results of the curriculum implementation to junior high school students of Bangsaothong group schools and present the curriculum to stakeholders. The results of first phase research showed that the directors wanted to developa curriculum that focused on learning art and culture, local wisdom and traditions forstudents to practice. Bangsaothong teachers agreed that the aim should be set for students to be proud of cultural capital, having knowledge and participating in the preservation of Bangsaothong cultures. The findings of second phase showed that the outline of curriculum sets out the objectives to build positive attitudes and creative media production skills from cultural capital. There are 10 activities, each activity is 3 hours, totaling 30 hours. Bring the curriculum to 3 experts to assess the suitability of the components of the curriculum outline. It was found that the results of the consistency index were between 0.60 and 1.00.In the third phase of the research, the results of using the curriculum revealed that students create digital publications, videos, logos, patterns and products from cultural capital.The result of measuring the attitude towards locality of the students after participating inthe training was at a high level (x̄ = 4.23). The overall creative skills and creative media design assessment scores were at the highest level (x̄ = 4.68). The researcher presented the curriculum to the stakeholders and found that the results of the evaluation of the appropriateness of the sustainable use of the training curriculum were at the highest level (x̄ = 4.85) and the satisfaction assessment scores on the overall curriculum use data were at the highest average level (x̄ = 4.90) with the evaluation score being at the highest level for all items. Social impact assessment (SROI), The investment value of local curriculum and learning activities for creative media production, Bangsaothong district, Samut Prakan Province,totaling 289,855.07 Baht. Generate value from investment in the amount of Baht 1,200,501.45 Baht.Calculating social impact assessment against operating investments. 1 baht will get socialreturn SROI = 4.14 baht. In conclusion, it is an investment project. The students are proud,have a local consciousness and have the skills to produce creative media from cultural capital.Teachers have passed on local curriculum knowledge to create local awareness of Bangsaothong.