วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติวัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการอบรมหลักสูตรการพยาบาลเวชปฏิบัติ (การรักษาโรคเบื้องต้น) 4 เดือน ที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย โดยกลุ่มทดลองได้เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่ วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ และกลุ่มควบคุมปฏิบัติงานการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ คือ คู่มือโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ โดยผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีรูปแบบการเรียนการสอนที่ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โมเดลซิปปา มาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ของโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ และประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบความรู้เรื่องการดูแล ผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 72 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ด้วยสถิติที ผล : คะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มทดลอง ที่เข้าร่วมโปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้เข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และคะแนนความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทของพยาบาลเวชปฏิบัติกลุ่มทดลอง ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุป : โปรแกรมการฝึกอบรมการดูแลผู้ป่วยจิตเภทสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติ เป็นเครื่องมือที่สำคัญสามารถเพิ่มความรู้เรื่องการดูแลผู้ป่วยจิตเภทในปฏิบัติงานการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชได้อย่างครอบคลุมการพยาบาลผู้ป่วยจิตเภทในชุมชนมากยิ่งขึ้น เพื่อให้พยาบาลเวชปฏิบัติมีความสามารถปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และขยายขอบเขตการปฏิบัติงานด้านสุขภาพจิตและจิตเวช เพื่อนำไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้ป่วยจิตเภททั้งในครอบครัวและชุมชน
Objective: To study the effect of training program on schizophrenic patients’ care for nurse practitioners. Material and Methods: This study was a quasi-experimental research, which had two groups pretest-post test experiment. The sample was thirty registered nurses who received four-month training on nurse practitioner curriculum (primary medical care) and worked at health promoting hospital in Buriram province. The sample was selected by simple random sampling. The experimental group received the schizophrenia care training program for nurse practitioner and the control group was an usual nursing care. The research instrument was Manual of training program on schizophrenia patients’ care for nurse practitioners and was evaluated by seventy-two items schizophrenia knowledge test. The researcher ap-plied the CIPPA model as a framework of teaching, which focused on student center, to the training program on schizophrenia patients’ care for nurse practitioners. Data analysis were used by descriptive statistics such as mean, percentage and comparison of knowledge scores data used statistics such as t-test. Results: The experimental group who participated in the schizophrenia patients’ care training program had higher score on knowledge of schizophrenia patients’ care than the control group with statistical significance. The experimental group had higher score on knowledge of schizophrenia patient care than before participating program with statistical significance. Conclusion: The training program on schizophrenic patients’ care for nurse practitioners cab be an im-portant tool for increasing the knowledge scores in psychiatric and community nursing. Also, this pro-gram had the potential in improving the quality of life for schizophrenia patients and cargivers.