รายงานการวิจัย เรื่อง มาตรการในเชิงกฎหมายที่สามารถลดสาเหตุและพฤติกรรมของการกระทำความผิด และการการทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ การศึกษามีทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ศึกษาถึงลักษณะแรงจูงใจของสาเหตุ และพฤติกรรมของการกระทำความผิด และการกระทำผิดซ้ำในคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างปลายเดือนมกราคม ถึงต้นเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 โดยมีผู้สมัครใจเข้าร่วมการวิจัยจำนวนทั้งสิ้น 155 คน โดยแบ่งเป็นวิธีการสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้คุมขังหรือนักวิชาการที่มีประสบการณ์ทำงาน จำนวน 5 คน และวิธีการใช้แบบสอบถามกลุ่มเด็กและเยาวชน ช่วงอายุ 10-18 ปี ในจำนวน 2 อำเภอ คือ อำเภอบางพลี และอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 150 คน ผลการศึกษา ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร เพศ อายุ สถานภาพของครอบครัว ลักษณะการอยู่อาศัยของเด็กและเยาวชน ระดับการศึกษา การประกอบอาชีพ และรายได้ของบิดามารดาและข้อมูลภาวะเสี่ยงในการกระทำความผิดของบุคคลในครอบครัว โดยใช้สถิติไคสแควร์ (Chi-square test) พบว่า มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และเมื่อศึกษาโดยใช้สถิติ Paired t-test เกี่ยวกับสาเหตุและพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความรู้เกี่ยวกับโทษและพิษภัยของสารเสพติดอยู่ในระดับต่ำมาก คิดเป็นร้อยละ 82 และมีความเชื่อมั่นที่จะปรับตัวเป็นคนดี มีความภาคภูมิใจในตนเองว่ามีคุณค่าต่อตนเองและครอบครัวและสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) มาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมกับการนำมาปรับใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ สิ่งสำคัญที่สุด คือ ครอบครัวและแนวทางเยียวยาจากสังคม สังคมควรช่วยเหลือไม่ให้เด็กและเยาวชนเข้ามากระทำความผิดซ้ำในคดียาเสพติดและรู้จักการให้โอกาสและการให้อภัย
The research is about legally protocol that reduces motive and behavior which leads to committing crime, young offender reddivism in drug and substance in Samut Prakan province. The study is fundamentally supported by Huachiew Chalermprakiet University. Both qualitative research and quantitative research explore more in terms of motivation and behavior of federal offender and young offender reddivism in narcotic drug substance in Samut Prakan. The data was collected from interviews and surveys from beginning of Januare until the end of April 2020. The number of 155 datas were conducted, consisting of 5 interviews from warders and scholars; and 150 juveniles between 10-18 of age in Bang Phli and Bang Sao Thong district in Samut Prakan.The study considers variabels of gender, age, family status, welfare of the youth, level of education, parent's occupation and earnings, the risk of family members in committing crime. All factors involved by using the Chi-square test reveals statistical significance of p<0.05. Whereas using the Paried t-test for motive and behavior shows that 82 percent of youths have lack of knowledge in disadvantages of drugs and substances. In addition to the significance of p<0.05 they promised to behave and value themselves among family and society. Despite the legally protocols that are application to prevent and resolve the addictive drugs in young offenders in Samut Prakan, the most essential key elements are the remedial family and society. The Society should provide opportunity and forgiveness in order to prevent recisivism among juveniles.