การวิจัยนี้เป็นการศึกษาตามแนวทางเชิงประจักษ์ เพื่อวิเคราะห์การกระจายรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนในระดับจังหวัดของประเทศไทย ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้อาศัยตัวเลขสถิติทุติยภูมิ เป็นหลักเพื่อใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ โดยผู้วิจัยใช้ข้อมูลภาคตัดขวางและอนุกรมเวลาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ถึงปีพ.ศ. 2560 รวมระยะเวลา 6 ปี โดยมีตัวแปรตามเป็นรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนซึ่งเป็นรายจ่ายที่ครัวเรือนจ่ายเป็นค่าดูแลสุขภาพใน 3 หมวด ได้แก่ รายจ่ายด้านยาและเวชภัณฑ์ รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก รายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในงานวิจัยนี้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของงานวิจัย โดยสามารถยืนยันข้อค้นพบจากการทดสอบสถิติได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นั่นคือ ประชาชนในแต่ละจังหวัดมีภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพที่ต้องรับภาระเอง ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามาตั้งแต่ พ.ศ. 2545 แต่รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนหรือครัวเรือนยังไม่ลดลง เมื่อพิจารณารายจ่ายสุขภาพทั้ง 3 หมวด พบว่ารายจ่ายด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกสูงที่สุด และพบความเหลื่อมล้ำในการกระจายรายได้และรายจ่าย ซึ่งจากผลของการวิจัยพบว่า ค่า Gini ด้านรายได้เมื่อวิเคราะห์เป็นระดับจังหวัดใน พ.ศ. 2560 มีค่าเท่ากับ 0.41 และค่า Gini ด้านรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนในระดับจังหวัดมีค่าเท่ากับ 0.36 หรือร้อยละ 36.0 เมื่อพิจารณาในแต่ละหมวดของรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนนั้น มีค่า Gini แตกต่างกันโดย รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนด้านการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในมีค่า Gini สูงที่สุด คือมีค่าเท่ากับ 0.49 หรือร้อยละ 49.0 ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่ารายจ่ายโดยรวมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ และสิ่งที่น่าสนใจอย่างยิ่งคือ ค่า Gini ของรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนในทุกด้านสูงขึ้นในทุกปีอีกด้วย จากข้อมูลการวิเคราะห์ข้างต้นแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำในส่วนของรายจ่ายสุขภาพในระดับจังหวัด โดยพิจารณาจากค่าดัชนี Kakwani พบว่า มีความไม่เป็นธรรม นั่นหมายความว่า จังหวัดที่มีรายได้สูงมีการจ่ายเงินเพื่อสุขภาพในสัดส่วนที่ต่ำกว่าจังหวัดที่มีรายได้น้อย เมื่อเทียบกับความสามารถในการจ่าย นั่นคือ ความสัมพันธ์ระหว่างการกระจายรายได้และสัดส่วน รายจ่ายด้านสุขภาพจังหวัดเป็นไปในลักษณะถดถอย และเมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายสุขภาพของภาคเอกชน พบว่า รายจ่ายสุขภาพของภาคเอกชนจะเพิ่มขึ้นตามอุปสงค์เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ตัวแปรผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด สัดส่วนประชากรในเมือง ประชากรสูงอายุ และสัดส่วนประชากรสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ซึ่งจะพบปัจจัยคล้ายคลึงกันในแต่ละหมวดรายจ่าย ยกเว้นรายจ่ายด้านผู้ป่วยนอกที่จะมีปัจจัยด้านความจำเป็นเข้ามาด้วย คือสัดส่วนผู้พิการ ที่ส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพด้านผู้ป่วยนอกสูงขึ้น ส่วนปัจจัยด้านอุปทานไม่พบความสัมพันธ์จากการศึกษาพบว่ารายจ่ายด้านสุขภาพของประชาชน นอกจากจะขึ้นอยู่กับความจำเป็นด้านสุขภาพแล้ว ยังขึ้นอยู่กับอุปสงค์ เนื่องจากอุปสงค์เกิดจากความต้องการและความสามารถในการจ่าย ดังนั้น การที่ประชาชนมีรายได้หรือมีความสามารถในการจ่ายสูงขึ้นจึงส่งผลให้มีรายจ่ายด้านสุขภาพสูงขึ้นตามไปด้วย รวมทั้งการที่สามารถเข้าถึงบริการสุขภาพได้ง่ายจากการอยู่ในเขตเมือง การที่มีประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้น เหล่านี้ส่งผลให้อุปสงค์สูงขึ้น รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนจึงสูงขึ้นตามไปด้วย นอกจากนั้นยังพบว่าระบบบริการสุขภาพส่งผลต่อรายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนทั้ง 3 ระบบ ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นระบบเดียวที่ส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนสูงขึ้นในเกือบทุกหมวดรายจ่ายแต่ตรงข้ามระบบกันสังคมกลับส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพลดลง ดังนั้น การที่ภาครัฐอุดหนุนค่ารักษาพยาบาลผ่านระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในกลุ่มประเทศรายได้ปานกลางค่อนข้างสูงเช่น ประเทศไทยก็ไม่ได้ทำให้รายจ่ายภาคเอกชนลดลง แต่ระบบประกันสังคมส่งผลให้รายจ่ายสุขภาพภาคเอกชนลดลงได้ และในการวิจียในอนาคต การคัดเลือกตัวแปรอื่นๆ เข้ามาเพิ่มเติม เป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทของประเทศไทยมากยิ่งขึ้น และเนื่องจากเวลาผ่านไปภาครัฐก็จะมีนโยบายใหม่ๆ เข้ามาพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การลดรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลและลดความไม่เป็นธรรมจึงเป็นสิ่งจำเป็น และควรมีการศึกษาสถานการณ์รายจ่ายและความเหลื่อมล้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อสามารถดูแนวโน้มรายจ่ายและความเป็นธรรมว่าดีขึ้นหรือไม่ในอนาคต
The objective of this empirical research (positive approach) was to analyze the distribute of private health expenditure at a provincial level in Thailand. Data used in the study is from secondary data for quantitative analysis. The researcher used pooling of cross-sectional and time-series data or panel data from 2012-2017 (6 years). The dependent variable is private expenditures being household expenditures paid for health caring in 3 categories, i.e. medicine and medical supply expenditure, outpatient treatment expenditure, an inpatient treatment expenditure. The research study can achieve the objective as it can confirm the finding from the statistical testing with statistical significance. That is people in each province have health expenditure burden that they have to care for on their own, though Thailand has implemented universal health care coverage since 2002, private or household health expenditure are not minimized. When each category of private health expenditure was taken into consideration, outpatient treatment expenditure was higher than overall. In the meantime, inequality in income and expenditure distribution has been found. The research result also found that income Gini index, analyzed on the basis of a provincial level in 2017, was 0.41 and private health expenditure-Gini index at provincial level was 0.36 or 36.0%. When each category of private health expenditure was taken into consideration, Gini-index was different. The private health expenditure related to inpatient treatment had the highest Gini index; 0.49 or 49.0% which was higher than overall household expenditures of National Statistical Office. Another interesting thing is Gini-index for private health expenditures in all aspects seem to be higher every year. Based on the analysis data mentioned above, it can be seen that the inequality situation of private health expenditures seem to be poorer continuously. When fairness of provincial health expenditures are taken into consideration based on the Kakwani index, unfairness is found. That means provinces with high income pay health expenditures lower than provinces with low income, compared to ability to pay. That is relationship between income distribution and ratio of provincial health expenditures has regression property.By considering factors affecting an increase in private health expenditures, it is found that private health expenditures increase majorly by demand, i.e. variables related to gross provincial product, proportion of urban population, elderly population, and proportion of population with universal health care coverage. By the way, similar factors in expenditure category is found except outpatient treatment expenditure as necessary factor like proportion of disabled people is included, resulting in higher outpatient treatment expenditure. With regard to factors related to supply, no relationship is found.That means people’s health expenditures do not depend only on health necessity but also demands as demands are from needs and ability to pay. Therefore, when people have more income or ability to pay increasingly, it has an effect on having higher health expenditures accordingly. Meanwhile, being able to access health care services as they stay in urban areas and an increase in elderly people results in higher demands and private health expenditures increase accordingly. Furthermore, it is found that the health care service system has an effect on all 3 systems of private health expenditures. The universal health care coverage system is the only system causing private health expenditures of all categories increase. In contrast, the social security system causes health expenditures decrease. Therefore, the way that the government supports treatment expenditures through the universal health care coverage system, in the group of middle-upper income countries like. Thailand, does not trigger private health expenditure decrease, but the social security system can. For future research, other variables should be selected and are necessary to serve appropriateness and consistence with Thailand context increasingly. As days pass by, the government sector will have new policies to develop people health care systems continuously. Thus, it is necessary to minimize treatment expenditures and unfairness. Consequently, a study on an expenditure situation and inequality should be conducted continuously so as to view potential of expenditures and fairness whether or not they are better in the future.