DSpace Repository

แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ

Show simple item record

dc.contributor.author อารยา ดำช่วย
dc.contributor.author พรพิมล เชวงศักดิ์โสภาคย์
dc.contributor.author Araya Dumchauy
dc.contributor.author Pornpimol Chawengsaksopak
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health en
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Public and Environmental Health en
dc.date.accessioned 2025-01-10T14:47:14Z
dc.date.available 2025-01-10T14:47:14Z
dc.date.issued 2020
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3491
dc.description.abstract ด้วยอัตราการเพิ่มของจำนวนเพิ่มประชากรผู้สูงอายุ และอาคารสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชราที่เพิ่มมากขึ้น แต่ในปัจจุบันยังไม่มีมาตรฐานในการออกแบบอาคารสถานสงเคราะห์คนชราเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยสำหรับผู้สูงอายุ ทำให้เมื่อเกิดอัคคีภัยผู้สูงอายุจะมีอัตราการเสียชีวิตมากที่สุด ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายของผู้สูงอายุ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบตรวจสอบอาคารด้านองค์ประกอบทางภายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารสถานสงเคราะห์คนชรา (2) ศึกษาสิ่งอำนวยความสะดวกของที่อยู่อาศัยที่ผู้สูงอายุต้องใช้งานด้านองค์ประกอบทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยจากอัคคีภัย (3) ศึกษาเวลาอพยพหนีไฟของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา (4) เสนอแนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัยของอาคารสถานสงเคราะห์คนชรางานวิจัยนี้เป็นแบบเชิงสำรวจซึ่งดำเนินการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 ส่วน คือ อาคารสถานสงเคราะห์คนชรา โดยทำการสำรวจการออกแบบทางภายภาพในอาคารด้วยแบบตรวจสอบรายการ (Check-list) และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสถานสงเคราะห์คนชรา จำนวน 29 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมสุขภาพและการใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางภายภาพ โดยเลือกผู้สูงอายุด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษาและวิจัย พบว่า ใช้เวลาในการอพยพหนีไฟ 3 นาที และได้แนวทางการกำหนดมาตรฐานการตรวจสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้สูงอายุ จำนวน 8 องค์ประกอบ ประกอบด้วย 1) เส้นทางหนีไฟ 2) บันไดหนีไฟ 3) บันไดที่ไม่ใช่บันไดหนีไฟ 4) ประตูหนีไฟ 5) ประตูทางออกอื่นๆ 6) ทางหนีไฟอากาศ 7) แผนผังอาคาร ป้ายบอกชั้นและป้ายบอกทางหนีไฟ 8) ระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ เมื่อตรวจประเมินมีข้อบกพร่องในด้านต่างๆ คือ 1) ด้านองค์ประกอบทางภายภาพ พบว่า มีสิ่งกีดขวางในเส้นทางหนีไฟ บันไดที่ไม่ใช่บันไดหนีไฟไม่มีการติดป้ายสัญลักษณ์แสดงทิศ ตำแหน่ง อุปกรณ์เปิด-ปิดประตูทางออกอื่นๆ เป็นชนิดลูกบิด ไม่มีแผนผังอาคาร และป้ายบอกทางหนีไฟและไม่มีการติดตั้งระบบสัญญาณเตือนเพลิงไหม้ ทั้งแบบเสียง แสง ระบบสั่นสะเทือนและปุ่มสัญญาณแจ้งภัย 2) ด้านพฤติกรรมการใช้พื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบทางกายภาพ พบว่า มีเพียงส่วนน้อย (3 ใน 29) ที่เคยเดินสะดุดสิ่งกีดขวางทางเดิน แต่ไม่มีอันตรายร้ายแรง แต่เพื่อให้อาคารสถานสงเคราะห์คนชรามีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย จึงควรปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ 1) เส้นทางหนีไฟห้ามมีสิ่งกีดขวาง 2) อุปกรณ์เปิด-ปิดประตูห้องพัก ควรเป็นแบบก้านบิดหรือแกนผลัก 3) จัดทำแผนผังอาคารที่กึ่งกลางบานประตูห้องพักด้านในและบนพื้นที่ส่วนกลาง โดยให้มีระยะจากพื้นถึงกึ่งกลางป้ายอย่างน้อย 1.30 เมตร แต่ไม่เกิน 1.60 เมตร ขนาดต้องไม่เล็กกว่า 300x300 มิลลิเมตร และสีพื้นของป้ายต่างจากสีผนังบริเวณที่ติดตั้ง และป้ายบอกทางหนีไฟควรมีการติดสูงจากพื้นที่ทางเดินอย่างน้อย 2 เมตร และต้องมีแสงสว่างเห็นได้ชัดเจนตลอดเวลาทั้งปกติและภาวะฉุกเฉิน 4) ติดตั้งสัญญาณเตือนภัยทั้งแบบเสียง แสง และระบบสั่นสะเทือนบริเวณที่นอน และติตด้งปุ่มสัญญาณแสงและเสียงแจ้งภัยไว้ 2 ตำแหน่งให้เอื้อมได้จากระยะ 0.95 เมตร และ 0.25 เมตร จากระดับพื้น เพื่อแจ้งให้ผู้ที่อยู่ภายนอกทราบว่ามีคนอยู่ในห้องพัก 5) ผู้ดูแลอาคารควรจัดให้มีการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟสำหรับผู้สูงอายุเป็นประจำทุกปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อเตรียมความพร้อม และให้ผู้ที่มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่มีปญหาด้านการเคลึ่อนไหววให้เกิดความเคยชินในการใช้สัญจรเส้นทางอพยพหนีไฟ en
dc.description.abstract While the number of elderly persons and the building increase, Currently, there is no standard in designing elder residential building. Hence, when a fire occurs, the elderly person seems to have the highest mortality rate because of the results from physical change. The purposes of the research were to (1) develop the standard check form of the safety in residential buildings for elderly persons. (2) to study the behavior of the elderly persons in using space-related to physical components within the residential building in case of fire. (3) to study the duration in the evacuation of elderly persons in residential buildings (4) to propose the building design guidelines for improving facilities and fire safety in residential buildings for elderly persons. This research collected the data from a sample group in two parts (1) using the check-list form to survey the physical design of the building. (2) interviewing 29 elderly persons from purposive sampling using health behavior and space using related to physical components interview form. The results of the study and research show that it takes 3 minutes for fire evacuation and has 8 guidelines for establishing the standard of facilities for the elderly, consisting of 1) fire escape routes 2) fire escape stairs 3) stairs which is not a fire escape ladder 4) fire exit door 5) other exit doors 6) aerial fire exit 7) building plan, floor sign, and fire exit sign 8) fire alarm system. When evaluated, there defects in various aspects which were 1) Physical components found that there were obstacles in the fire escape route. Non-fire escape ladders with no signs indicating directions, devices for opening and closing other exit doors are knob type. No building plan and sign for fire exits and there is no fire alarm system installed, including sound, light, vibration and alarm buttons 2) Regarding the behavior of using space-related to physical components, it was found that only a small part (3 in 19) had walked and stumbled upon a pathway. But without danger. But to provide facilities for the elderly to have fire safety facilities. Facilities should be improved, including 1) fire escape routes, no obstacles, 2) equipment for opening and closing rooms should be a twisted rod or push rod 3) Plan the building in the middle of the interior door and on the common area. The distance from the floor to the center of the sign should be a least 1.30 meters but not more than 1.60 meters. The size must not be smaller than 300 x 300 millimeters and the floor color of the sign will be different from the wall color at the installation area. And signs for fire exit signs should be attached at least 2 meters above the floor and must have visible light at all times, both normal and emergency. 4) installing alarms in sound, light, and vibration at the mattress and there are two light and sound alert buttons installed at a distance of 0.95 meters and 0.25 meters from the ground level to inform those outside that someone is in the room 5) The administrative building should provide training, fire evacuation for seniors annually. Each year at least one time to prepare. And the people who help the elderly with mobility problems to get used to roaming the fire. en
dc.description.sponsorship การวิจัยนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติปีการศึกษา 2558 en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject การป้องกันอัคคีภัย en
dc.subject Fire prevention en
dc.subject สถานสงเคราะห์คนชรา -- สิ่งอำนวยความสะดวก en
dc.subject Adult day care centers – Facilities en
dc.subject สถานสงเคราะห์คนชรา -- ไทย -- สมุทรปราการ en
dc.subject ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ -- ไทย -- สมุทรปราการ en
dc.subject Adult day care centers -- Thailand -- Samut Prakarn en
dc.subject การอพยพหนีไฟ en
dc.subject Fire evacuation en
dc.subject ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ -- อัคคีภัยและการป้องกันอัคคีภัย en
dc.subject Adult day care centers -- Fires and fire prevention en
dc.title แนวทางการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อความปลอดภัยจากอัคคีภัย กรณีศึกษาสถานสงเคราะห์คนชราเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรปราการ en
dc.title.alternative Guideline for Fire Safety Facilities Improvement : A Case Study of the Private Nursing Home for the Elderly in Samutprakarn en
dc.type Technical Report en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account