การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีของกลุ่มเสี่ยง ตำบลป่าคาหลวง อำเภอบ้านหลวง จังหวัดน่าน ตามทฤษฎีการพยาบาลของคิง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยกลุ่มเสี่ยงที่ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ จำนวน 60 คน ใช้เทคนิคการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แนวคำถามสัมภาษณ์เจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยหลังการมีส่วนร่วมของชุมชนเพื่อการป้องกันโรค พบว่า กลุ่มเสี่ยงมีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคและการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผลการตรวจอุจจาระไม่พบเชื้อพยาธิใบไม้ตับ ร้อยละ 91.7 ด้านครอบครัวเกิดความภูมิในค้นพบศักยภาพของตนเองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ด้านบุคลากรสุขภาพมีความมั่นในที่จะเป็นแกนนำรณรงค์ป้องกันโรคในชุมชน มีการพัฒนาองค์ความรู้และมีการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การพยาบาลโดยใช้ระบบปฏิสัมพันธ์อย่างมีเป้าหมายของคิง จึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมสำหรับพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการป้องกันโรคมะเร็งท่อน้ำดีตามบริบทของชุมชน
This participatory action research aims to promote community involvement for the prevention of cholangiocarcinoma among population at high risk in Pakaluang Sub-district, Ban Luang, Nan Province according to the King's Theory of Nursing Data were collected by quantitative and qualitative methods. Samples consisted of 60 patients at risk of liver fluke. The instruments used in this study were questionnaire with in-depth interview, group discussion, and public stage. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and content comparison. The results on community involvement for disease prevention showed population at risk had higher perception on the benefits of cholangiocarcinorma prevention, with statistical significance at the level of 0.05. However, the stool examination revealed no liver fluke (91.7%) percent of the liver fluke. The family was satisfied with the potential to adjust their consumption behavior. The population themselves were confident to be leaders in the community for the pervention campaign. They continuous developed their knowledge and evaluation. Hence, The King's theory of nursing on targeted interactions could be an appropriate approach for community nurses to promote community involvement in the prevention of cholangiocarcinoma accroding to the context of community.