การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอด กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาหลังคลอดที่มารับบริการตรวจหลังคลอด 6 สัปดาห์ ที่ห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลตากสิน สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนสิงหาคม 2560 จำนวน 143 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบประเมินภาวะซึมเศร้าหลังคลอด แบบประเมินความวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง แบบสอบถามเกี่ยวการเจ็บป่วยของทารก และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่านและหาค่าความเชื่อมั่นจากแบบประเมินได้เท่ากับ 0.73, 0.79, 0.83, 0.71 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์หาอัตราความชุกของภาวะซึมเศร้าหลังคลอด วิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณด้วยวิธี stepwise ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างมารดาหลังคลอด ร้อยละ 18.8 และพบว่าปัจจัยที่สามารถร่วมกันทำนายการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอดได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์ (β=0.436, p<0.01) และแรงสนับสนุนทางสังคม (β=0.334, p<0.01) สามารถร่วมกันอธิบายความผันแปรของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในมารดาหลังคลอดได้ ร้อยละ 31.3 (R-Squared = 0.313) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ข้อเสนอแนะ ควรนำปัจจัยที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ภาวะวิตกกังวลขณะตั้งครรภ์แรงสนับสนุนทางสังคม วางแผนหรือสร้างแนวทางการดูแลมารดาหลังคลอดด และควรมีการศึกษาวิจัย ในบริบทที่แตกต่างหรือปัจจัยด้านอื่นๆ ที่แตกต่างกัน
This research is a correlational research. The purposed of this study was to determine the prevalence of postpartum depression and the factors predicting postpartum depression in postpartum mothers. The samples were composed of 143 postpartum mothers who came to postpartum clnic of 6 weeks in Outpatient Department-Obstetrics and Gynecology in Taksin Hospital, Medical Service Department, Bangkok during June-August 2017. Data were collected by using Postpartum Depression Assessment, Prenatal anxiety Assessment, Self-Esteem Assessmet Questionnaire, Infant illness questionnaire and Social support questionnaire. Data were analyzed by using descriptive statistics, including the prevalence rates of postpartum depression, Person's Product Moment Correlation and Multiple regression by stepwise method. The results showed that the prevalence of postpartum depression was 18.8%. The factors thay significantly predicted postpartum depression in postpartum mothers were prenatal anxiety (β=0.436, p<0.01) and social support. (β=0.334, p<0.01). Prenatal anxiety and social support could explain 31.3% (R-Squared = 0.313) of the variance of postpartum depression in postpartum mothers, while self-esteem and infant illness did not. Based on the results, care plane and guidelines for postpartum mothers should include prenatal anxiety and social support. The further research should be conducted in different contexts or other factors.