การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์แนวทางการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยตนเองที่บ้านตามการรับรู้ของผู้ป่วยและผู้ดูแล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการศึกษาเอกสาร ผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 25 คน ประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่เป็นผู้ป่วยในคลินิก โรคถุงลมโป่งพองของโรงพยาบาลบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเคยเกิดภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันจนต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลในช่วงระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา จำนวน 8 คน ผู้ให้ข้อมูลรอง ได้แก่ ผู้ดูแล จำนวน 8 คน บุคลากรด้านสุขภาพ จำนวน 9 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม-ธันวาคม 2556 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยตนเองที่บ้านในผู้ป่วยโรดปอดอุดกั้นเรื้อรังประกอบไปด้วย 4 ส่วนคือ 1) การรับรู้เกี่ยวกับโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง และภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันของผู้ป่วยและผู้ดูแล ว่าเป็นโรคเรื้อรังที่เกิดจากปอดไม่ดี รักษาไม่หาย เป็นอันตราย ต้องกินยาตลอดชีวิต ซึ่งทำให้เกิดความทุกข์ทรมานร่างกาย 2) ปัญหาและความต้องการในการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันที่บ้านของผู้ป่วย ผู้ดูแล พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุต้องอยู่บ้านตามลำพังไม่มั่นใจในการดูแลตนเองเมื่อเกิดภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลัน ส่วนความต้องการพบว่าผู้ป่วยต้องการผู้ดูแลใกล้ชิดด ต้องการข้อมูลในการดูแลตนเอง และต้องการให้บุคลากรด้านสุขภาพมาเยี่ยมบ้านบ่อยๆ 3)ปัจจัยหรือเงื่อนไขที่มีผลต่อการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันจากที่ผู้ป่วยเป็นผู้สูงอายุ เมื่ออายุมากทำให้สังขารไม่ไหว และมีโรคแทรกร่วมด้วย ประกอบกับมีผู้ดูแลเป็นครั้งคราวทำให้เกิดความกลัว ความไม่มั่นใจในการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยตนเอง และ 4) แนวทางการจัดการกับภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันเองที่บ้านของผู้ป่วย ผู้ดูแล ประกอบด้วย การจัดการเมื่อเกิดอาการนำของภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันโดยเน้นการดูแลตนเอง เช่น การดื่มน้ำอุ่น นั่งพัก การพ่นยา เป็นต้น เมื่อเกิดอาการหายในยากลำบากเฉียบพลันจะดูแลตนเองโดยการพ่นยา รับประทานยา และถ้าอาการไม่ดีขึ้นจะรีบมาโรงพยาบาล และการจัดการเพื่อป้องกันในระยะที่ยังไม่เกิดภาวะหายใจยากลำบากเฉียบพลันด้วยการทำสุขภาพให้แข็งแรง โดยการออกกำลังกาย ฝึกการหายใจ และหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เป็นต้น
This study is a qualitative research. The objective is to analyze guideline for management the acute exacerbation at homme according to patient's perecption. Researcher gathered data using participate observation, in- depth interview and document review. 25 infomants included keys informants are 8 of COPD patients who were treated acute exacerbation in emphysema cline of Bang Pa In hospital, Ayutthaya province during the last 1 year. Another informant consist of 8 caregivers, 9 health care personnel. Data were collected during March-December 2013 and analyzed data using content analysis. The results have found that guideline for managment the acute exacerbation at home by COPD patient consist of 4 sections. 1) Patient's and caregiver's perception of chronic obstructive pulmonary disease and acute exacerbation. That this is a chronic disease caused by lung illness, there is no 100% cure and need to be on medicine for the rest of their life which can be suffered. 2) Problems and needs for management the acute exacerbation at patient's home. Have found that most of the patients are the their memory and live alone then lack of confidence to look after oneself. Caregivers are not involve or perceive in treatment and also found that hospital services are still uncoverer and disperse. For the needs, it have been found that, patients need a good care, knowledge for self care during acute exacerbation and also need to home visited by health care personnel more frequently. 3) Factors of conditions that affect management of the acute exacerbation consist of patient health conditions, patients unable to identified symptom and severity of acute axacerbation, lack of caregivers or too short of caregivers, transportation, fear and lack of confidence. 4) Guideline for management the acute exacerbation at home by COPD patients and caregivers effectively consist of managing during early stage of acute exacerbation, managing while acute exacerbation occur and managing for preventing during non-active phase.