การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อภาวะโภชนาการเกินในนักเรียนชั้นมัยธมศึกษาตอนต้น โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง ประเภทแบบแผนการวิจัยสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีภาวะโภชนาการเกิน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกน้ำหนัก ส่วนสูง และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายที่ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และตรวจสอบความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์ อัลฟาคอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .75 จากนั้้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงบรรยาย สถิติ Chi-square และ T-test ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังได้รับโปรแกรมการส่งเสริมการรับรู้ความสามารถของตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการบริโภคอาหารและพฤติกรรมการออกกำลังกายมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value.002 และ .001 ตามลำดับ และมากกว่ากลุ่มเปรียบเทียบแต่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value .655 และ .863 ตามลำดับ และมีจำนวนนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม ดังนั้น พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนสามารถนำโปรแกรมนี้ไปใช้โดยดำเนินการประสานงานร่วมกับโรงเรียนและครูสามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
The study aimed to investigate the effects of self-efficacy and family support promotion program on overweight among junior high school students by using Quasi-Experimental Research Designs with pre-test and post-test to examine two groups of students. The samole were overweight Mathayonsuksa II students. The instruments used were the body weight record and the food consumption and physical activity questionnaire. The questionnaire was evaluated for content validity by three experts. Cronbach's alpha coefficient was .75. The statistics utilized for analysis were descriptive statistics; chi-square, and t-test. The result showed that after participating in the self-efficacy and family support promotion program. The experimental group had higher average scores of food consumption and physical activity behaviors with the statistical significance at the p-value of .002 and .001 respectively. The scores were more than those of the control group, but they were not statistically significant with the p-value of .655 and .863 respectively. Finally, after participating in the program, the number of overweight students also decreased. Thus. community nurse practitioners could apply this program by working cooperatively with the school so that the teachers could utilize this program with overweight students.