DSpace Repository

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพสตรี : ศึกษากรณีพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร

Show simple item record

dc.contributor.advisor ธัญญา สนิทวงศ์ ณ อยุธยา
dc.contributor.advisor Thanya Sanitwongse Na Ayuttaya
dc.contributor.author นันทวัน แก้วเอี่ยม
dc.contributor.author Nuntawan Kawauim
dc.contributor.other Huachiew Chalermprakiet University. Faculty of Social Work and Social Welfare
dc.date.accessioned 2025-01-26T03:42:17Z
dc.date.available 2025-01-26T03:42:17Z
dc.date.issued 1998
dc.identifier.uri https://has.hcu.ac.th/jspui/handle/123456789/3566
dc.description สารนิพนธ์ (สส.ม.) (การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม) -- มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, 2541 en
dc.description.abstract การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาสุขภาพจิตพยาบาล และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น พยาบาล 11 โรงพยาบาล จาก 44 โรงพยาบาลในกรุงเทพฯ จำนวนทั้งสิ้น 278 คน โดยวิธีใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน สัมพันธภาพในครอบครัว และสุขภาพจิตของพยาบาลเมื่อได้ข้อมูลครบตามจำนวนที่ต้องการ จึงนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS/PC เพื่อศึกษาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวน และค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยจากการวัดระดับสุขภาพจิตและข้อมูลด้านต่าง ๆ ของพยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีดังนี้กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 28.8 ปี รายได้เฉลี่ยเดือนละ 16,432 บาท ส่วนใหญ่เป็นโสด และ มีร้อยละ 82.0 ที่ทำงานในวิชาชีพพยาบาลต่ำกว่า 10 ปีปัจจัยด้านครอบครัว พยาบาลที่เป็นกลุ่มตัวอย่างมีสัมพันธภาพกับครอบครัวค่อนข้างดีปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมในการทำงาน แยกเป็น 3 ลักษณะคือ การทำงาน ลักษณะงาน และ สัมพันธภาพในที่ทำงานด้านการทำงานของพยาบาล พบว่า พยาบาลส่วนใหญ่มีปัญหาน้อยเกี่ยวกับการทำงานเป็นกะ และส่วนใหญ่ทำงานล่วงเวลาไม่บ่อยนัก ซึ่งการทำงานล่วงเวลาไม่เป็นปัญหากับบุคคลในครอบครัวนัก และการทำงานใกล้ชิดกับความเจ็บป่วยทำให้พยาบาลส่วนใหญ่มีความรู้สึกหดหู ปานกลางด้านลักษณะงานที่เกี่ยวกับสวัสดิการและโอกาสก้าวหน้า พบว่าส่วนใหญ่ได้รับสวัสดิการดีพอใช้ และส่วนใหญ่คิดว่าตนเองมีโอกาสการก้าวหน้าในหน้าที่การงานบ้างด้านสัมพันธภาพกับบุคคลในสถานที่ทำงาน อันหมายถึง เพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และ แพทย์ พบว่า ส่วนใหญ่มีสัมพันธภาพกับกลุ่มคนดังกล่าวดีพอใช้ในการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาล พบว่า มีเพียง 2 ปัจจัย คือ ระยะ เวลาในการประกอบอาชีพพยาบาล ซึ่งพบว่ามีความสัมพันธ์ผกผันกับปัญหาสุขภาพจิตของ พยาบาล กล่าวคือ หากเวลาในการประกอบอาชีพพยาบาลน้อยจะมีแนวโน้มในการมีปัญหาสุขภาพจิตมากปัจจัยอีกด้านหนึ่งซึ่งมีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลคือ สัมพันธภาพกับเพื่อนร่วมงาน ซึ่งจะแปรผกผันกับสุขภาพจิตของพยาบาลเช่นกัน หากมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงาน จะมีแนวโน้มที่มีปัญหาสุขภาพจิตที่น้อยลงผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะจากการศึกษาในครั้งนี้ เพื่อลดปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิตของพยาบาล โดยเพิ่มความเข้าใจ และพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคลากร ให้คำแนะนำแก่พยาบาลจบใหม่ มีการแจกแจงรายละเอียดต่าง ๆ ในการทำงาน สำหรับการศึกษาวิจัยครั้งต่อไป ควรศึกษาเปรียบเทียบอิทธิพลที่มีผลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลประจำการในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค ตลอดจนโรงพยาบาลของรัฐในสังกัดต่าง ๆ ศึกษาสาเหตุและปัจจัยของการลาออกจากงานของพยาบาลที่มีอายุมาก และศึกษาปัจจัยและสาเหตุของพยาบาลที่มีอายุมากจึงอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนน้อย en
dc.language.iso th en
dc.publisher มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.rights มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ en
dc.subject พยาบาล -- สุขภาพจิต en
dc.subject Nurses -- Mental health en
dc.subject ความเครียด (จิตวิทยา) en
dc.subject Stress (Psychology) en
dc.subject การปรับตัว (จิตวิทยา) en
dc.subject Adjustment (Psychology) en
dc.subject พยาบาล -- ความสัมพันธ์ในครอบครัว en
dc.subject Nurses -- Family relationships en
dc.subject โรงพยาบาลเอกชน -- ไทย -- กรุงเทพฯ en
dc.subject Hospitals, Proprietary -- Thailand -- Bangkok en
dc.title ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพจิตของพยาบาลวิชาชีพสตรี : ศึกษากรณีพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร en
dc.title.alternative Factors Effecting Mental Health of Female Professional Nurses : A Case Study of Nurses in Private Hospitals in Bangkok en
dc.type Independent Studies en
dc.degree.name สังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต en
dc.degree.level ปริญญาโท en
dc.degree.discipline การจัดการโครงการสวัสดิการสังคม en


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record

Search DSpace


Advanced Search

Browse

My Account