การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียนโรงเรียนราชินี และศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของเด็กนักเรียน ผู้ปกครอง และครูภายหลังการใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 1-6 ของโรงเรียนราชินี กรุงเทพมหานคร จำนวน 400 ราย แบ่งเป็น ช่วงอายุ 6-8 ปี 120 คน ช่วงอายุ 9-12 ปี 280 คน และผู้ปกครอง 393 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบรายงานการบันทึกอุบัติเหตุของห้องพยาบาลและการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ในระหว่างการพัฒนารูปแบบและการร่วมกิจกรรมการป้องกันอุบัติเหตุในโรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์และ Paired t-test ข้อมูงเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ 1. ปีการศึกษา 2547 มีนักเรียนได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในโรงเรียน ร้อยละ 75.51 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการสะดุดหรือถูกชนล้มขณะวิ่งเล่นในโรงเรียน โดยพบในเด็กนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น อายุ 6-9 ปี เฉลี่ยเดีอนละ 3 ครั้ง ต่อคนต่อปี ทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชายเกิดอุบัติเหตุซ้ำประเภทมีความถี่เท่ากัน ช่วงเวลาที่เกิดส่วนใหญ่เป็นช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุส่วนมากเป็นบริเวณใต้ถุนตึกเรียนซึ่งเป็นลานกว้างพื้นเรียบ สนามกีฬามีพื้นเป็นปูนหยาบและบันไดทางขึ้นตึกเรียน 2. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดอุบัติเหตุในนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญ อายุ ระดับการศึกษา และความพิการของนักเรียน 3. รูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุในนักเรียน ประกอบด้วย ระยะเวลาของการพัฒนา 3 ระยะ คือ การสร้างสัมพันธภาพที่ประทับใจจากเด็กสู่ครู การร่วมดูแลใส่ใจความปลอดภัยของนักเรียนและระยะของการร่วมกันดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่ชัดเจนและต่อเนื่อง รูปแบบที่ได้พัฒนาขึ้นมานั้นมีผลช่วยเพิ่มพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุและลดการบาดเจ็บของนักเรียน โรงเรียนมีการจัดการกับสิ่งแวดล้อมเสี่ยงมากขึ้น ครูมีการนำการป้องกันอุบัติเหตุสอนแทรกในกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านสื่อต่างๆ มากขึ้น และมีการจัดการเชิงบริการเพื่อเสริมสร้างความปลอดภัยในโรงเรียนมากขึ้นภายใต้มาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย ครูพยาบาลให้การบริการสุขภาพเชิงรุกที่มีการนำข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุของเด็กมาใช้ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงป้องกันผ่านสื่อการสอนการปฏิบัติการพยาบาลและการมีส่วนร่วมในการบริหารงานภายในโรงเรียน 4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการป้องกันอุบัติเหตุของนักเรียนและผู้ปกครองภายหลังใช้รูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่า สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนพฤติกรรมเสี่ยงของเด็กนักเรียนลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ การศึกษาครั้งนี้ เสนอแนะว่า รูปแบบที่ได้จากการศึกษานี้ เป็นรูปแบบเฉพาะของโรงเรียนราชินี การนำไปใช้อาจใช้ได้ในโรงเรียนที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันกับโรงเรียนราชินีหรือมีการปรับให้สมกับบริบทของโรงเรียนนั้นๆ พร้อมทั้งนำรูปแบบการป้องกันอุบัติเหตุไปพัฒนาอย่างต่อเนื่องภายใต้การดำเนินตามมาตรฐานของโรงเรียนสร้างเสริมความปลอดภัย
The purpose of this action research was to develop injury prevention model for primary students in Rajini School. A purposive was study to change students, parents and teachers behavior after developing injury prevention model. A purposive sample of person : 120 from students age 6-8 years and 280 students age 9-12 years and 393 parents was selected. The research process was base on a mutual collaborative approach among the researcher, students, parents and teachers in schoo. The process was action research using participant observation, planning, acting and reaction. This study was conducted research using participant observation, planning, acting and reaction. This study was conducted from March 2004 to May 2005. Data was collected by means of in-depth intervirew participatory observation and pre-post test questionnaire. Content analysis and Paired t-test were used. The presentation of finding is both descriptive and analytic form. Major finding: 1. In 2004 students were injury from accident in Rajini school, reported level as high (75.51%). The most cuase of injury which was falling, they play and run in your school found Prathom 1-3 age 609 years, at time 11-12 o'clock was founs two genders was male and female. The incident of injury is 3 times per person per year. The content play ground and the ladder of the school buidling are the most areas of accident events. 2. The factor of injury in school was found that age factors, education factor and disability factor showed statistically significant. 2. The factor of injury in school was found that age factors, education factor and disability factor showed statistically significant. 3. The development of injury prevention model for primary students in Rajini school was consisted of 3 phases : initiating impressive care relationship; continuing care collaboration in injury prevention; and continuing developed injury prevention model. The developed model made for behavior injury prevention of students, manage risk environment for chaninging the risk behavior and increasing safety behavior. The developed model was conducted by ; 1) Exploring current situation of student injury in school from incident report ; 2) Analyzing and reflecting the factors and condition of accident in primary student ; 3) Empower student, parents, and teachers to develop specific activities under the related roles and responsibilities of the participants ; and 4) Practicing the creative activities by participants. The framework for injury prevention model primary student in Rajini school developed through an action research methodology within the group discuss ; current situations of health problems and practices on substance risk behavior ; and the involving people in the learning process enabling students, parents and teachers for injury prevention.